1.ลักษณะโครงสร้างของหมู
การพัฒนาสายพันธุ์โดยเน้นเรื่องความแข็งแรงของหมูถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและให้หมูมีสุขภาพทีดีขึ้นมีความแข็งแรงมากขึ้น หมูที่มีความแข็งแรงจะสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ทนต่อโรคและให้ผลผลิตได้สูงสุด
การพัฒนาสายพันธุ์ได้มีการใส่คุณลักษณะของความแข็งแรงเข้าไปด้วย คือ เรื่องโครงสร้างและอายุการใช้งาน มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ซึ่งเห็นได้จากผลผลิตที่ดีขึ้นจากหมูที่มีความแข็งแรงและอายุการใช้งานที่ดีขึ้น การปรับสมดุลของเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์จะไม่เน้นในเรื่องของผลผลิตอย่างเดียวแต่ยังมุ่งไปในเรื่องของสุขภาพและการพัฒนาให้หมูแข็งแรงขึ้น
ความแข็งแรงมีผลต่อหลากหลายลักษณะพันธุ์
ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตและสุขภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ได้ทดสอบในสภาพแวดล้อมที่มีโภชนาการต่ำ เชื้อโรคเยอะ อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือมีการระบายอากาศไม่ดี ความแข็งแรงได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม บริษัทสายพันธุ์จึงได้กำหนดความแข็งแรงถึงศักยภาพของผลผลิต ยกตัวอย่างเช่น อัตราแลกเนื้อ การเจริญเติบโต เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง หรือ ความสมบูรณ์พันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่กำหนด และยังทดสอบกับในที่ที่ไวกับทนต่อเชื้อโรคหรือความเสียหาย รวมไปถึงการลดการคัดทิ้ง ลดอัตราการตาย
โครงสร้างเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของความแข็งแรง
โครงสร้างจะแสดงถึงความแข็งแรงและสุขภาพของขา กีบ และหลัง รวมถึงลักษณะผิดปกติที่มีตั้งแต่เกิดหรือเป็นทีหลัง ยกตัวอย่างเช่นจากการขาดโภชนะ โรงเรือน หรือ การติดเชื้อ
การเลือกปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มผลผลิตและสวัสดิภาพสัตว์รวมไปถึงการเพิ่มผลกำไรของหมูขุน และแม่พันธุ์โดยลดการคัดทิ้งแม่ลงได้ โครงสร้างที่มีปัญหาเช่น ขาเจ็บ เพิ่มความเสี่ยงในการคัดทิ้ง และเป็น 10-15%ของการคัดทิ้งแม่พันธุ์ อย่างที่รู้กันว่าขาเจ็บทำให้หมูเจ็บและเครียดซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผลผลิต
ในหมูขุน ขาเจ็บสัมพันธ์ต่อการกินอาหารและการเจริญเติบโตที่ลดลง รวมถึงผลผลิตในแม่พันธุ์ด้วย อาการขาเจ็บส่งผลเสียต่อผลผลิตในแม่พันธุ์แต่โครงสร้างที่ดีของหมูจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีตัวหนึ่งของการพัฒนาสายพันธุ์ในการเพิ่มความแข็งแรง
การเลือกลักษณะโครงสร้างที่ดี
แดนบรีดได้ทำการพัฒนามาหลายปีมาก ทั้งเรื่องโครงสร้างทีดีและอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นซึ่งจะเห็นได้ในเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 1995
ลักษณะที่ได้มีการให้คะแนนโครงสร้างได้ถูกทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยให้คะแนนหมูเป็นรายตัวจากการประเมินขาหน้า ขาหลัง รวมถึงหลังและลักษณะทั่วไป
โครงสร้างของหมูจะประเมินจากการเดิน เพราะ อาการขาเจ็บไม่ได้เห็นเฉพาะในหมูไม่ยอมเดิน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงมีความจำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเวลาให้คะแนน
สภาพแวดล้อม โรงเรือนที่ทดสอบต้องไม่ลื่น มีแสงสว่างเพียงพอ และ มีพื้นที่เพียงพอที่จะเห็นการเดินของหมูได้ไม่ใช่เห็นเฉพาะด้านหลังอย่างเดียวแต่ต้องเห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้างด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หมูต้องมีความคุ้นเคยกับคนเลี้ยง ไม่เช่นนั้นจะทำให้หมูยิ่งเครียดระหว่างการให้คะแนนทำให้หมูเคลื่อนที่ได้ยาก และสุดท้ายความเชี่ยวชาญของผู้ประเมินจะทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์สูงสุด
ยกตัวอย่าง
โครงสร้างที่ไม่ดีคือ ขาหน้าบิดเข้า-บิดออก หรือ ขาหลังปัด
โครงสร้างที่ดีคือ เดินได้ดี ไม่เห็นความผิดปกติที่ขาหรือกีบ จากจำนวนทั้งหมด 100,000 ตัว จากฟาร์มพันธุ์แท้ 23 ฟาร์ม มีการทดสอบทุกปีและมีการบันทึกเพื่อปรับปรุงต่อไป
ความคืบหน้าของการพัฒนาพันธุกรรม
หมูของแดนบรีดมีการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มความแข็งแรงผลที่ได้ทำให้อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 150-200 กรัม/วัน และมีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดง 1.5-2.5% เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หมูแดนบรีดไม่ได้เจอกับปัญหาสุขภาพมากนัก ในปี1980-1990 ตัวอย่างที่ไม่ดีที่ไม่ควรทำตามคือ ปัญหาขา และ ระบบสืบพันธุ์ในไก่เนื้อ หลังจากเน้นการปรับปรุงเรื่องการเจริญเติบโตและเน้นกล้ามเนื้ออกเป็นหลัก
การพัฒนาพันธุกรรมด้านโครงสร้าง
โครงสร้างเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดต่ำไปถึงกลาง จากการศึกษาของสายพันธุ์ แลนด์เรซ และ ยอร์กเชียร์ มีความหลากหลายอยู่ที่ 0.04-0.15 โดยความหลากหลายไม่ใช่แค่ต่างสายพันธุ์เท่านั้นแต่ต่างสภาพแวดล้อมก็มีผลต่อโครงสร้างเช่นกัน รวมถึงความเชี่ยวชาญของผู้ประเมิน
ในปีที่ผ่านมา ความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในเรื่องโครงสร้างของหมู DanBred Landrace, DanBred Yorkshire และ DanBred Duroc ได้แก่ 0.19, 0.15 และ 0.20 ตามลำดับ
ซึ่งการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดศักยภาพของความก้าวหน้าทางพันธุกรรม แต่หากต้องการพัฒนาหมูให้มีความแข็งแรงจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยทางด้านพันธุกรรมอื่นที่ส่งผลต่อความแข็งแรงร่วมด้วย
จากการศึกษาในปี 2015 ของ หมูแดนบรีดแสดงให้เห็นว่าคะแนนโครงสร้างมีค่าความสัมพันธ์กับจำนวนลูกมีชีวิต 0.36 ซึ่งใกล้เคียงกับความสัมพันธ์ของช่วงหย่านมถึงผสมในลำดับท้องที่ 2 คือ 0.35 นั่นหมายความว่าหมูที่มีลักษณะโครงสร้างที่ดีจะสามารถให้ลูกมีชีวิตที่มากขึ้นและสามารถกลับมาเป็นสัดได้เร็วขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีคะแนนโครงสร้างที่น้อยกว่า
Maximising future progress ความก้าวหน้าในอนาคต
แดนบรีดมีการพัฒนาวิธีการประเมินโครงสร้างหมูในการทดสอบพันธุ์ ซึ่งวิธีการใหม่ได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจำแนกความแตกต่างทางพันธุกรรมที่บ่งบอกถึงความแข็งแรงได้ วิธีการใหม่จะมีวิธีการในการจำแนกคะแนนโครงสร้างได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้สามารถเลือกหมูที่จะนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดได้แม่นยำมากขึ้น
การกำหนดลักษณะการแสดงออกทางพันธุกรรมใหม่ประกอบไปด้วย ขาหน้า ขาหลัง หลัง รวมถึงการถ่ายทอดลักษณะทั่วไปจากรุ่นก่อน ทำให้มีความหลากหลายในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการดูลักษณะโครงสร้างแบบเดิม
วิธีการใหม่นี้สามารถเพิ่มความสามารถในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและความสามารถในการคาดการณ์ได้สูงขึ้น 10% เทียบกับการดูลักษณะโครงสร้างแบบเดิม โดยการทดสอบนี้ทำให้เห็นว่าความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างหมูแต่ละตัวนั้นมีผลจากพันธุกรรมถึง 22% โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม วิธีการแบบใหม่จะเริ่มนำมาใช้ในช่วงฤดูร้อนปี 2019 และคาดการณ์ว่าจะสามารถเพิ่มการคัดเลือกโครงสร้างได้ดีขึ้นจนถึง 5%