- ใช้เวลาเลี้ยงนานขึ้น
- หากหมูเกิดการชะงักการโต (Setback) หมูไม่โตขึ้น หรือน้ำหนักลดลง ส่งผลให้ต้องใช้เวลาเลี้ยงเพิ่มขึ้น เพื่อชดเชยน้ำหนักที่หายไป และกลับมาเจริญเติบโตตามปกติ ซึ่งต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 2-10 วันเพื่อให้ได้น้ำหนักเท่าเดิม
- หมูโตช้าลง
- หมูที่เกิดการชะงักการโต (Setback) การเจริญเติบโตจะไม่ได้ตามมาตรฐาน ทำให้หมูได้น้ำหนักน้อยกว่าปกติอย่างน้อย 2-8 กิโลกรัม ในอายุที่เท่าเดิม และอัตราการเจริญเติบโต (ADG) ลดลงอีกด้วย
- ใช้อาหารเพิ่มขึ้น FCR สูง
- ระยะเวลาการเลี้ยงที่นานขึ้น ส่งผลให้หมูของคุณต้องกินอาหารมากขึ้นกว่าปกติ เพื่อให้ได้น้ำหนักเท่าเดิม และส่งผลต่ออัตราการแลกเนื้อที่เพิ่มขึ้น
- สุขภาพอ่อนแอ ป่วยง่าย
- หมูที่ชะงักการโต (Setback) จะต้องใช้พลังงานไปกับการดำรงชีวิต ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เสี่ยงต่อการติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น แบคทีเรีย ไวรัส ทำให้หมูป่วยง่าย และเกิดการสูญเสียมากขึ้น
- กำไรลดลง
- แน่นอนว่าทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมาส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตลดต่ำลง และที่สำคัญคือ ต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งค่าอาหารที่มากขึ้น ค่ายารักษาหมูที่ป่วย และปริมาณหมูที่ขายได้ลดลงจากการสูญเสียที่สูงขึ้น ล้วนแล้วแต่ทำให้ผลกำไรลดลง ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้ว คิดเป็นเงินที่เสียไปไม่น้อยเลย