เพิ่มจำนวนลูกสุกรหย่านม ด้วย “การย้ายฝาก”

การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันมีการปรับปรุงสายพันธุ์และพัฒนาเทคนิคการจัดการต่งๆ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่สูงที่สุด ผลจากกระบวนการปรับปรุงสายพันธุ์คือขนาดครอกที่ใหญ่ขึ้น โดยฉพาะสุกรเดนมาร์ก ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ถูกยอมรับโดยทั่วกันว่าเป็นสายพันธุ์ที่ให้ลูกดกที่สุด ซึ่งเมื่อเกษตกรนำมาเลี้ยง หรือใช้ปรับปรุงสายพันธุ์ของตนเอง มักประสบปัญหาเดียวกันคือ ไม่สามารถก็บลูกในโรงเรือนคลอดไว้ได้เนื่องจากลูกแรกเกิดมีจำนวนมากกว่าจำนวนเต้านมของแม่ (โดยปกติมากกว่า 14 ตัว) และลูกสุกรเองก็มีพฤติกรรมจองเต้านมภายใน 2 วันแรก ทำให้ลูกที่ตัวเล็กหรืออ่อนแอที่สุดไม่สามารถต่อสู้และจับจองเต้านมได้ทัน ทำให้เกิดการสูญเสียจากการขาดอาหารตายไปในที่สุด กล่าวคือหลายๆ ฟาร์มเมื่อได้ลูกมาก อัตราการตายก่อนหย่านมในโรงเรือนคลอดก็ยิ่งสูงตามมา ดังนั้นจึงได้มีการพัฒนาเทคนิคการจัดการต่างๆ ขึ้นมารองรับขนาดครอกที่ใหญ่ขึ้น เพื่อลดอัตราการตายก่อนหย่านมหนึ่งในวิธีการจัดการทั่วไปที่ฟาร์มสุกรใช้เมื่อเผชิญปัญหาขนาดครอกใหญ่และขนาดลูกแรกคลอดที่แตกต่างกันคือ การย้ายฝากลูกสุกร ซึ่งเป็นการจัดการที่สามารถปรับให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น กระจายให้แม่แต่ละตัวเลี้ยงลูกเท่าๆ กัน จัดขนาดลูกสุกรในแต่ละครอกให้มีขนาดเท่ากัน เพื่อให้ลูกตัวเล็กได้มีโอกาสกินนมได้เท่ๆกัน การเลือกลูกที่ไม่แข็งแรงมาดูแลพิเศษ หรือย้ายฝากไปยังแม่นม (ดังรูปที่ 1)

การเลือกใช้แม่นมเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ถูกนำมาใช้รับมือกับปัญหาขนาดครอกใหญ่ วิธีนี้ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศเดนมาร์กและประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่มีโปรแกรมการพัฒนาและปรับปรุงสายพันธุ์สุกรเพื่อให้ได้ลูกสุกรที่มีขนาดครอกใหญ่ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติอย่างแพร่หลายในประเทศอื่นๆ โดยเทคนิคการใช้แม่นมแบ่งเป็น 2 รูปแบบหลักคือ การใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน (One-step nurse sow) และแบบ 2 ขั้นตอน (two-step nurse sow) (ดังรูปที่ 2)

 

รูปที่ 1 การย้ายฝากลูกสุกรเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ

  การจัดการโดยใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน ทำโดยการหย่านมลูกสุกรที่มีอายุอย่างน้อย 21 วันจากแม่สุกรที่ถูกเลือกมาเป็นแม่นม จากนั้นย้ายฝากลูกสุกรที่มีจำนวนมากเกินไปจากแม่สุกรที่คลอดใหม่ (ซึ่งการย้ายจะทำหลังจากปล่อยให้ลูกสุกรเกิดใหได้รันมน้ำเหลื่องจากแม่ของมันเองอย่างน้อย 6-12 ชั่วโม)มายังแม่นมและแม่นมจะเลี้ยงไปจนกระทั่งลูกสุกรชุดนี้หย่านม

 

รูปที่ 2 แสดงเทคนิคการใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอนและ 2 ขั้นตอน

  การจัดการโดยใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอน หรือบางครั้งถูกเรียกว่า การย้ายฝากแบบลำดับขั้น (Cascade fostering) โดยวิธีการนี้เกี่ยวข้องกับการใช้แม่นม 2 ตัว โดยขั้นตอนแรกจะต้องคัดเลือกแม่นุมตัวที่ 1 (intermediate nurse sow หรือ interim sow) จากแม่สุกรที่ลูกกำลังจะหย่านม (อายุ 21-28 วัน) และขั้นตอนต่อมาเลือกแม่นมตัวที่ 2 (Two-step nurse sow หรือ second nurse sow) ซึ่งกำลังเลี้ยงลูก 4-7 วัน ลูกของแม่นมตัวที่ 2 จะถูกย้ายให้แม่นมตัวที่ 1 เลี้ยงจนกระทั่งหย่านม ส่วนแม่สุกรตัวที่ 2 จะถูกย้ยไปเป็นแม่นมให้กับลูกสุกรเกิดใหม่ที่มีจำนวนมากเกินไปจากแม่สุกรที่คลอดใหม่

ในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา Flemming Thorup ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการผลิตของโรงเรือนคลอดโดยเป็นการเปรียบเทียบระหว่างไม่มีการใช้แม่นม ใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอนและแบบ 2 ขั้นตอน พบว่า การใช้แม่นมแบบ 1 ขั้นตอน และแบบ 2 ขั้นตอนให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรที่ 82% และ 94% ตามลำดับและน้ำหนักหย่านม 5.5 กิโลกรัมและ 6.4 กิโลกรัม ตามลำดับ ผลดังตารางที่ 1

อีกทั้งการกตลองนี้ได้มีการเปรียบเทียบระหว่างลูกสุกรที่ถูกเลี้ยงโดยแม่ของมันเองและแม่นมแบบ 2 ขั้นตอน ซึ่งพบว่าให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรที่ไม่แตกต่งกันคือ 94% และน้ำหนักหย่านมของลูกที่ถูกเลี้ยงโดยแม่ของมันเองและแม่นมแบบ 2 ขั้นตอนที่ 63 กิโลกรัมและ 64 กิโลกรัม ตามลำดับ ดังตารางที่ 2

การทดลองนี้ยังได้ศึกษาต่อเนื่องไปถึงผลกระทบต่ออัตราการเข้าคลอดและจำนวนลูกทั้งหมดในรอบการผลิตต่อไปในแม่สุกรที่เลี้ยงลูกและหย่านมตามปกติ (กลุ่มควบคุม) และแม่สุกรที่กลายเป็นแม่นม หลังจากเลี้ยงลูกได้ 21 วัน โดยพบว่าจะมีอัตราการเข้าคลอดที่ 92% และ 83% ตามลำดับ และมีจำนวนลูกทั้งหมด 15.1 ตัวและ 17.1 ตัว ตามลำดับ (ดังตารางที่ 3)

นอกจากนี้ดมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างแม่สุกรกลุ่มควบคุม และแม่สุกรที่กลายเป็นแม่นมหลังจากเลี้ยงลูกได้ 7 วัน พบว่าจะมีอัตราการเข้าคลอดที่ 100% และ 94% ตามลำดับและมีจำนวนลูกทั้งหมด 13.9 ตัวและ 14.2 ตัว ตามลำดับ (ดังตารางที่ 4)

จากผลการศึกษาของ Flemming Thorup ได้ข้อสรุปว่า การใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนให้อัตราการรอดชีวิตและน้ำหนักหย่านมของลูกสุกรที่สูงกว่าการใช้แม่นมแบบ 1 ชั้นตอน การย้ายฝากลูกสุกรไปยังแม่นมแบบ 2 ขั้นตอนไม่มีความแตกต่างในด้านของอัตราการรอดชีวิตและน้ำหนักหย่านมเมื่อเปรียบเทียบกับลูกสุกรที่เลี้ยงโดยแม่ของพวกมันเอง และสุกรที่ถูกนำมาใช้ป็นแม่นมหลังจากเลี้ยงลูกไปแล้ว 21 วันให้อัตราการเข้าคลอดที่ต่ำกว่าแต่ให้จำนวนลูกทั้งหมดมากกวสุกรกลุ่มควบคุม ส่วนสุกรที่ถูกนำมาใช้เป็นแม่นมหลังจากเสี้ยงลูกไปแล้ว 7 วันไม่มีความแตกต่างเมื่อเปรียบเทียบกับสุกรกลุ่มควบคุม

ทั้งนี้การคัดเลือกสุกรที่เหมาะสมที่จะเป็นแม่นมควรพิจารณาจากลักษณะดังนี้

  1. แม่สุกรลำดับท้องที่ 1 หรือ 2 เนื่องจากแม่สุกรสาวมักจะยอมรับลูกสุกรย้ายฝากได้ง่ายกว่าแม่สุกรที่อายุมาก และแม่สุกรสาวจะมีขนาดหัวนมที่เล็กง่ายต่อการดูดนมของลูกสุกร
  2. แม่สุกรที่เลี้ยงลูก 4-7 วันเหมาะสมที่จะเป็นแม่นมลำดับที่ 2 (จะถูกนำไปเลี้ยงลูกย้ายฝากอายุ 1 วัน) เพราะ จะย่อมรับลูกสุกรย้ายฝากได้ง่ายกว่แม่สุกรที่เลี้ยงลูกมานานและปริมาณนมที่ผลิตได้ก็ไม่มากเกินความต้องการของลูกสุกร
  3. แม่สุกรมีจำนวนเต้านมที่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอกับจำนวนลูกที่ย้ายฝาก และการย้ายฝากลูกชุดใหม่จะต้องมีจำนวนไม่มากกว่จำนวนลูกที่แม่สุกรตัวนั้นเลี้ยงก่อนหน้า
  4. แม่สุกรมีสุขภาพแข็งแรง กินอาหารเก่งและมีรูปร่างที่ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไปเพื่อที่จะสามารถยืดระยะเวลาที่ต้องให้นมได้นานขึ้น
  5. แม่สุกรมีพฤติกรรมการเลี้ยงลูกของตนเองได้ดี

เทคนิคการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรก่อนหย่านมนั้นประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาขนาดครอกที่มีจำนวนลูกสุกรมากกว่าเต้านมของแม่ โดยถูกใช้อย่างแพร่หลายในประเทศเดนมาร์ก และเนเธอร์แลนด์ ซึ่งงานศึกษาวิจัยได้ชี้ให้เห็นว่าการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าการใช้แม่นมแบบขั้นตอนเดียวซึ่งเป็นวิธีการที่ไช้ทั่ไปในขณะนี้ และแม่สุกรที่ถูกนำมาเป็นแม่นมไม่ได้ให้ประสิทธิภาพที่ด้อยกว่าแม่สุกรที่เลี้ยงลูกและหย่านมตามปกติ อีกทั้งการนำสุกรมาเป็นแม่นมลำดับที่ 2 ไม่ได้ส่งผลต่อประสิทธิภาพการผลิตในรอบถัดไป ส่วนแม่สุกรที่นำมาเป็นแม่นมลำดับที่ 1 แม้ว่าจะมีอัตราการเข้าคลอตลดลง แต่ขนาดครอกจะใหญ่ขึ้นในรอบการผลิตถัดไป ดังนั้นเทคนิคการใช้แม่นมแบบ 2 ขั้นตอนจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะสามารถเพิ่มผลผลิตให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตสุกรในประเทศไทยได้

 

ด้วยความปรารถนาดี
หมอแอน
ทีมวิชาการ “ลูกเจี๊ยบ” แอมโก้เวท

เอกสารอ้างอิง
1. Two-step nurse sow, Danish Pig Production, April 2008
2. H9-Nurse sows, Guildlines for farrowing facilities, August 2010
3. Nurse sows for supernumerous piglets, Danish Pig Research Centre, Flemming Thorup
4. A 2-step nurse sow strategy, Pig Progress, Vivi Aarestrup Moustsen, January 2016
5. The welfare implications of large litter size in the domestic pig ll: management factors, Edinburgh Research Explorer, Baxter EM, Rutherford
KMD, D’Eath RB, Arnott G, Turner SP, Sandoe P, Moustsen VA, Thorup F, Edwards SA and Lawrence AB, 2013

บทความอื่นๆ
DANBRED Breeding Goal 2024

Danbred Breeding Goal 2024 DANBRED มีเป้าหมายในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ผู้ผลิตสุกรได้รับผลกำไรสูงที่สุด  โดยในปัจจุบันสุกรขุนแดนบรีดสามารถสร้างกำไรเพิ่มขึ้นต่อปีถึง 1.65 ยูโรต่อตัว (61.48 บาทต่อสุกรขุนต่อปี)และมีการปรับเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไรขึ้นอีกเป็น 2.79 ยูโรต่อสุกรขุน ( 103.96 บาทต่อตัวต่อปี ) พัฒนาประสิทธิภาพสุกรขุน อย่างต่อเนื่อง (Productivity) สุกรขุนสายพันธุ์ DANBRED ได้รับการยอมรับในระดับโลก ว่าสามารถให้ผลกำไรกับผู้เลี้ยงมากที่สุด ด้วยอัตราการ เจริญเติบโตต่อวันสูง ประสิทธิภาพการใช้อาหารเหนือกว่า และคุณภาพเนื้อที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง จากการรายงานประสิทธิภาพสุกรขุนช่วง 30-110 กิโลกรัม ในประเทศเดนมาร์กในปี 2023 พบว่า สุกรขุน DANBRED มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน(ADG)  จาก 1,024 กรัมเป็น 1,037 กรัม เพิ่มขึ้น 13 กรัมต่อวัน เมื่อเทียบกับปี 2022 นอกจากนี้ ฟาร์มสุกรขุน DANBRED 5 อันดับแรกในประเทศเดนมาร์ก มี […]

24 Nov 2024
DANBRED IS JUST BETTER แดนบรีด… สายพันธุ์ที่เหนือกว่า part 2

จากผลการทดสอบคุณภาพซากสุกรขุน อายุ 23 สัปดาห์ ระหว่างสุกรสายพันธุ์ DANBRED กับสุกรสายพันธุ์อื่นจากเดนมาร์กผลลัพธ์คือ DANBRED มีคุณภาพซากเหนือกว่าและมีน้ำหนักเข้าเชือดสูงกว่าถึง 9.4 กก. ในระยะเวลาเลี้ยงเท่ากัน     ♦ DANBRED สายพันธุ์ที่เหนือกว่าทั้งอัตราการเจริญเติบโต และคุณภาพซาก คุณภาพและปริมาณเนื้อแดง ได้เป็นเป้าหมายสำคัญในการปรับปรุงพันธุกรรมในสายพันธุ์แม่ของสุกรแดนบรีด (Landrace, Yorkshire, Duroc) มาตั้งแต่ปี 2017 และยังคงได้รับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยความสำเร็จเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพซากและการติดตามพันธุกรรมของสุกรขุนมากกว่า 20 ล้านตัว/ปี จาก DANISH CROWN ซึ่งเป็นรัฐวิสากิจโรงเชือดและตัดแต่งสุกรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์ก จึงทำให้สุกรขุนจากแดนบรีดเป็นสุกรที่เหนือกว่าทั้งด้านคุณภาพและปริมาณเนื้อแดง รวมถึงเป็นสายพันธุ์ที่ให้กำไรสูงสุดกับผู้เลี้ยงและผู้แปรรูปเนื้อสุกร   ♦ สุกรขุนแดนบรีด 130 กก. ซากสวย เนื้อแดงเยอะ ที่น้ำหนัก 130 กก. สุกรขุนแดนบรีด สามารถให้คุณภาพซากในระดับดีเยี่ยม โดยให้สัดส่วนเนื้อสันใน สันนอกและสามชั้น ปริมาณมาก ในทางกลับกันยังคงมีสัดส่วนไขมันเปลวและชั้นไขมันใต้ผิวหนังต่ำกว่าสุกรสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลจากการเน้นพัฒนาพันธุกรรมเพื่อคุณภาพเนื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงสุกรขุนถึงน้ำหนัก 130 กก.ได้ […]

16 Oct 2024
DANBRED IS JUST BETTER แดนบรีด… สายพันธุ์ที่เหนือกว่า part 1

จากผลการทดลองเลี้ยงจริงเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การเจริญเติบโตของสุกรขุนระหว่างสุกรสายพันธุ์ DANBRED กับสุกรสายพันธุ์อื่นจากเดนมาร์ก สรุปได้ว่า สุกร DANBRED ให้ผลกำไรกับผู้เลี้ยงได้สูงที่สุดและมากกว่าสายพันธุ์อื่นถึง 523 บาทต่อตัว       ♦ DANBRED มุ่งมั่นพัฒนาสายพันธุ์ที่เหนือกว่า “ผลลัพธ์และผลกำไรที่เหนือกว่าอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีต้นกำเนิดจากเดนมาร์กคล้ายกัน” เนื่องจาก DANBRED มุ่งเป้ายกระดับการผลิต ทั้งเรื่อง ลูกดกและพัฒนาประสิทธิภาพสุกรขุนไปพร้อมกัน ส่งผลให้ ADG, FCR และ FCG ของสุกรขุนดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยใช้เทคโนโลยีการคัดเลือก DNA เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาสายพันธุ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลสุกรพันธุ์ในระบบ มากกว่า 35 ล้านตัว อีกทั้งการเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ของประเทศเดนมาร์ก จึงทำให้ DANBRED มีเป้าหมาย ที่ชัดเจนและก้าวสู่การเป็นองค์กรระดับโลก ด้วยเงินลงทุน เพื่อวิจัยและพัฒนามากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี   ♦ แอมโก้เวท ยืนยัน ADG 1,100+ กรัม/วัน ทำได้จริง จากผลการทดลองเลี้ยงจริงล่าสุดในฟาร์มระบบปิดใน […]

29 Sep 2024

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save