ลูกดกอย่างเดียวพอหรือไม่กับการพัฒนาสายพันธุ์ในปัจจุบัน
เนื่องจากสถานการณ์การเลี้ยงสุกรในปัจจุบันกำลังประสบปัญหาต้นทุนเพิ่มสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านต้นทุนค่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ต้นทุนในการทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosecurity) เพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคระบาด ดังนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการทุกคนต้องการคือ การหาวิธีที่จะลดต้นทุนการผลิตให้ได้มากที่สุดหรือไม่เพิ่มสูงไปกว่าเดิม หนึ่งในปัจจัยที่มีส่วนช่วยในการลดต้นทุนการผลิตที่หลายๆ คนมองข้ามไปนั่นคือ
“พันธุกรรม”
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางด้านการพัฒนาพันธุกรรมของสุกรเป็นอย่างมาก ผู้พัฒนาสายพันธุ์สุกรหลายรายต่างก็ให้ความสำคัญกับสัดส่วนของดัชนีแต่ละค่าแตกต่างกันออกไป ซึ่งนอกจากดัชนีประสิทธิภาพสุกรขุนแล้ว ยังมีดัชนีประสิทธิภาพของแม่สุกร เช่น จำนวนลูกมีชีวิตที่สูง หรือที่เรียกกันว่าลูกดก ซึ่งทางผู้พัฒนาสายพันธุ์สุกรเองก็เลือกที่จะชี้ให้ผู้ประกอบการรับรู้ว่าถ้าหากได้จำนวนลูกหย่านมเพิ่มมากขึ้น (จากการที่ได้ลูกมีชีวิตเพิ่มขึ้น) ต้นทุนลูกสุกรหย่านม/สุกรขุนก็จะลดลง แต่สิ่งที่เป็นปัญหาที่ผู้ประกอบการหลายๆ ท่านเคยพบก็คือ
“ลูกดกแต่เก็บไม่ได้”
รูปที่ 1. แม่สุกรที่เลี้ยงลูกดก มักพบปัญหาลูกสุกรสูญเสียในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยง
สาเหตุที่เกิดปัญหาลูกดกแต่เก็บไม่ได้นั้นมีหลายปัจจัย โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่มักมองว่ามาจากการจัดการเป็นหลัก เช่น การเตรียมคอกคลอด การทำคลอด การย้ายฝาก เป็นต้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพของสุกรตั้งแต่แรกเลยคือ “พันธุกรรม” แน่นอนว่าถ้าพันธุกรรมดี ก็จะส่งผลให้การแสดงออกภายนอกของสุกรดีขึ้นด้วย ประเด็นสำคัญอยู่ที่ผู้พัฒนาสายพันธุ์ให้ความสำคัญกับเป้าพัฒนาสายพันธุ์ครอบคลุมถึงประสิทธิภาพตั้งแต่สุกรเกิดจนถึงขุนหรือไม่ กล่าวคือถ้าสุกรบางสายพันธุ์มีเป้าพัฒนาสายพันธุ์โดยมุ่งเน้นแต่เพียงดัชนีลูกดก โดยไม่ได้มีดัชนีที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของลูกสุกรหรือความสามารถในการถ่ายทอดการเจริญเติบโตจากพ่อแม่ไปยังลูกได้นั้น ก็มักจะพบปัญหา “ลูกดกแต่เก็บไม่ได้” ดังกล่าวเกิดขึ้น
“แล้วแดนบรีด (DanBred) เล็งเห็นความสำคัญตรงนี้อย่างไร ?”
ในปี 2007 DanBred ได้ตั้งเป้าพัฒนาสายพันธุ์ในส่วนของดัชนีแม่พันธุ์เป็นหลัก (รูปที่ 2.) โดยสังเกตได้ว่าสัดส่วนหลักคือ จำนวนลูกสุกรที่รอดใน 5 วัน (Lived Piglets at Day5; LP5) ซึ่งจากข้อมูลงานวิจัยหรือแม้กระทั่งในสภาพการเลี้ยงจริง สามารถใช้เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าลูกสุกรจะเสี่ยงต่อการสูญเสียมากที่สุดในช่วงสัปดาห์แรกของการเลี้ยง อีกทั้งยังให้ความสำคัญถึงเรื่องความสามารถในการเลี้ยงลูก (Maternal effect) การใช้งานแม่สุกรได้เป็นเวลานาน (Longevity) ซึ่งนอกจาก LP5 ที่เป็นหัวใจสำคัญของเรื่อง “ลูกดกแต่เก็บไม่ได้” นั้น ทีมวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ยังตั้งเป้าใน ส่วนของอัตราการเจริญเติบโตจนถึง 30 กิโลกรัม (Maternal Daily Gain Litter Birth-30; mDGLB30) ซึ่งเป็นยีนที่มาจากแม่สุกรที่สามารถส่งต่อให้กับลูกสุกรได้ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ประกอบการได้ว่าลักษณะทางพันธุกรรมนี้จะช่วยให้ลูกสุกรแข็งแรงและมีอัตราการเจริญเติบโตที่ดีขึ้น
รูปที่ 2. เป้าพัฒนาสายพันธุ์ของแม่พันธุ์ในปี 2007 แสดงถึงการให้ความสำคัญของดัชนีทางสายแม่พันธุ์เป็นหลัก
เมื่อพันธุกรรมในสายแม่สุกรให้ประสิทธิภาพที่น่าพอใจในเรื่องของดัชนีแม่พันธุ์ เช่น ลูกดก ความแข็งแรงของลูกสุกรแรกคลอด เป็นต้น ในปี 2018 ทาง DanBred ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในส่วนของดัชนีประสิทธิภาพของสุกรขุนมากยิ่งขึ้น เพราะต้นทุนในส่วนของค่าอาหารมีสัดส่วนมากที่สุด ดังนั้น FCR จึงตอบโจทย์ในการลดต้นทุนมากที่สุดนั่นเอง (รูปที่ 3.)
รูปที่ 3. เป้าพัฒนาสายพันธุ์ของแม่พันธุ์ในปี 2018 แสดงถึงการให้ความสำคัญของดัชนีประสิทธิภาพทางสุกรขุนเป็นหลัก
และสุดท้ายในปี 2022 (รูปที่ 4.) เป้าพัฒนาสายพันธุ์ของสายแม่สุกรยังคงให้ความสำคัญกับดัชนีประสิทธิภาพสุกรขุนเป็นอันดับหนึ่ง และเพิ่มจุดโฟกัสคือ “ความแข็งแรง (Robustness)” ทั้งในส่วนของแม่สุกร (อายุการใช้งาน, รูปร่าง) และลูกสุกร (การเอาตัวรอด, ความแข็งแรงของตัวลูกสุกรเอง) โดยท้ายที่สุดมุ่งหวังได้ผู้ประกอบการได้จำนวนลูกหย่านมเพิ่มขึ้น เป็นสุกรขุนที่ ADG สูง FCR ต่ำ
รูปที่ 4. สัดส่วนของเป้าพัฒนาสายพันธุ์สายแม่สุกรของ DanBred ในปี 2022
สังเกตได้ว่า DanBred ได้พัฒนาสายพันธุ์สุกรเดนมาร์กโดยคำนึงถึงผู้ประกอบการเป็นหลัก ที่ไม่ได้แค่คำนึงถึงจำนวนลูกดกเท่านั้น แต่ยังพัฒนาประสิทธิภาพในการเลี้ยงลูกของแม่สุกร ซึ่งยังสามารถส่งผ่านพันธุกรรมที่มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของลูกสุกร อีกทั้งยังให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพของสุกรขุน รวมถึงความแข็งแรงของสุกร ที่เป็นปัจจัยสำคัญในการได้ลูกสุกรหย่านมจนถึงขุนมากขึ้น ตอบโจทย์ผู้ประกอบการในเรื่องของการเลี้ยงลูกที่ดกขึ้นแต่เก็บไม่ได้ ที่จะช่วยลดต้นทุนการผลิตในภาวะต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในปัจจุบัน ทางแอมโก้จึงอยากให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงความสำคัญของการพัฒนาสายพันธุ์ ที่ไม่ใช่แค่คำนึงถึงจำนวนลูกที่ดกขึ้น แต่ต้องคำนึงถึงเป้าพัฒนาสายพันธุ์ในส่วนของความสามารถในการเลี้ยงลูก ความแข็งแรง และประสิทธิภาพสุกรขุน เพื่อตอบโจทย์ปัญหาในการเลี้ยงสุกรอย่างครบวงจรในปัจจุบันอีกด้วย
“ลูกดกอย่างเดียวอาจไม่พอ ต้องให้ความสำคัญกับความแข็งแรงด้วย”