เปลี่ยน”มูลสุกร” สู่พลังงานทดแทนตอบสนองสังคมคาร์บอนต่ำ
ปัจจุบันในวงการเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรเริ่มก้าวสู่เทรนด์การใช้พลังงานทดแทนจากมูลสุกรเพื่อเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
โดยพลังงานทดแทนจากมูลสุกรมาใช้สร้างประโยชน์ โดยการนำมูลสุกรหรือขี้หมูมาทำเป็นไบโอแก๊สหรือ “แก๊สชีวภาพ” และ “ผลิตเชื้อเพลิงสะอาด”ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรียวัตถุ โดยมูลสุกร 1 ฟาร์ม (เฉลี่ยสุกร 700 – 800 ตัว) สามารถผลิตพลังงานทางเลือกเพื่อส่งมอบพลังงานทดแทนให้แก่ผู้คนในชุมชนมากถึง 40 ครัวเรือน รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขาภิบาล ปัญหาน้ำเสียในระดับท้องถิ่น ช่วยลดค่าใช้ไฟฟ้า ลดค่าก๊าซหุงต้ม รวมถึงลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นปัญหาในระดับโลกอีกด้วย
ดังนั้นการเปลี่ยนมูลสุกรมาสู่พลังงานทดแทนในฟาร์มสุกรถึงเริ่มเข้ามามีบทบาทกับการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนมากขึ้นในปัจจุบันและอนาคตมากยิ่งขึ้น เพื่อตอบสนองสังคมคาร์บอนต่ำ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พร้อมส่งมอบโลกที่ไร้คาร์บอนกับคนรุ่นต่อไป