Breeding for robustness in pigs: การพัฒนาพันธุ์หมูเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

1.ลักษณะโครงสร้างของหมู

การพัฒนาสายพันธุ์โดยเน้นเรื่องความแข็งแรงของหมูถือเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มผลผลิตและให้หมูมีสุขภาพทีดีขึ้นมีความแข็งแรงมากขึ้น หมูที่มีความแข็งแรงจะสามารถทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ ทนต่อโรคและให้ผลผลิตได้สูงสุด

การพัฒนาสายพันธุ์ได้มีการใส่คุณลักษณะของความแข็งแรงเข้าไปด้วย คือ เรื่องโครงสร้างและอายุการใช้งาน มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ซึ่งเห็นได้จากผลผลิตที่ดีขึ้นจากหมูที่มีความแข็งแรงและอายุการใช้งานที่ดีขึ้น การปรับสมดุลของเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์จะไม่เน้นในเรื่องของผลผลิตอย่างเดียวแต่ยังมุ่งไปในเรื่องของสุขภาพและการพัฒนาให้หมูแข็งแรงขึ้น

ความแข็งแรงมีผลต่อหลากหลายลักษณะพันธุ์

ไม่ว่าจะเป็นผลผลิตและสุขภาพที่มีความสัมพันธ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม ได้ทดสอบในสภาพแวดล้อมที่มีโภชนาการต่ำ เชื้อโรคเยอะ อุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป หรือมีการระบายอากาศไม่ดี ความแข็งแรงได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อม บริษัทสายพันธุ์จึงได้กำหนดความแข็งแรงถึงศักยภาพของผลผลิต ยกตัวอย่างเช่น อัตราแลกเนื้อ การเจริญเติบโต เปอร์เซ็นต์เนื้อแดง หรือ ความสมบูรณ์พันธุ์ในสภาพแวดล้อมที่กำหนด และยังทดสอบกับในที่ที่ไวกับทนต่อเชื้อโรคหรือความเสียหาย รวมไปถึงการลดการคัดทิ้ง ลดอัตราการตาย

โครงสร้างเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของความแข็งแรง

โครงสร้างจะแสดงถึงความแข็งแรงและสุขภาพของขา กีบ และหลัง รวมถึงลักษณะผิดปกติที่มีตั้งแต่เกิดหรือเป็นทีหลัง ยกตัวอย่างเช่นจากการขาดโภชนะ โรงเรือน หรือ การติดเชื้อ

การเลือกปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มผลผลิตและสวัสดิภาพสัตว์รวมไปถึงการเพิ่มผลกำไรของหมูขุน และแม่พันธุ์โดยลดการคัดทิ้งแม่ลงได้ โครงสร้างที่มีปัญหาเช่น ขาเจ็บ เพิ่มความเสี่ยงในการคัดทิ้ง และเป็น 10-15%ของการคัดทิ้งแม่พันธุ์ อย่างที่รู้กันว่าขาเจ็บทำให้หมูเจ็บและเครียดซึ่งส่งผลโดยตรงต่อผลผลิต

ในหมูขุน ขาเจ็บสัมพันธ์ต่อการกินอาหารและการเจริญเติบโตที่ลดลง รวมถึงผลผลิตในแม่พันธุ์ด้วย อาการขาเจ็บส่งผลเสียต่อผลผลิตในแม่พันธุ์แต่โครงสร้างที่ดีของหมูจะเป็นตัวชี้วัดที่ดีตัวหนึ่งของการพัฒนาสายพันธุ์ในการเพิ่มความแข็งแรง

การเลือกลักษณะโครงสร้างที่ดี

แดนบรีดได้ทำการพัฒนามาหลายปีมาก ทั้งเรื่องโครงสร้างทีดีและอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นซึ่งจะเห็นได้ในเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 1995

ลักษณะที่ได้มีการให้คะแนนโครงสร้างได้ถูกทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยให้คะแนนหมูเป็นรายตัวจากการประเมินขาหน้า ขาหลัง รวมถึงหลังและลักษณะทั่วไป

โครงสร้างของหมูจะประเมินจากการเดิน เพราะ อาการขาเจ็บไม่ได้เห็นเฉพาะในหมูไม่ยอมเดิน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของการถ่ายทอดทางพันธุกรรม จึงมีความจำเป็นต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเวลาให้คะแนน

สภาพแวดล้อม โรงเรือนที่ทดสอบต้องไม่ลื่น มีแสงสว่างเพียงพอ และ มีพื้นที่เพียงพอที่จะเห็นการเดินของหมูได้ไม่ใช่เห็นเฉพาะด้านหลังอย่างเดียวแต่ต้องเห็นทั้งด้านหน้าและด้านข้างด้วย ยิ่งไปกว่านั้น หมูต้องมีความคุ้นเคยกับคนเลี้ยง ไม่เช่นนั้นจะทำให้หมูยิ่งเครียดระหว่างการให้คะแนนทำให้หมูเคลื่อนที่ได้ยาก และสุดท้ายความเชี่ยวชาญของผู้ประเมินจะทำให้บรรลุตามวัตถุประสงค์สูงสุด

ยกตัวอย่าง

โครงสร้างที่ไม่ดีคือ ขาหน้าบิดเข้า-บิดออก หรือ ขาหลังปัด

โครงสร้างที่ดีคือ เดินได้ดี ไม่เห็นความผิดปกติที่ขาหรือกีบ จากจำนวนทั้งหมด 100,000 ตัว จากฟาร์มพันธุ์แท้ 23 ฟาร์ม มีการทดสอบทุกปีและมีการบันทึกเพื่อปรับปรุงต่อไป

ความคืบหน้าของการพัฒนาพันธุกรรม

หมูของแดนบรีดมีการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อเพิ่มความแข็งแรงผลที่ได้ทำให้อัตราการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น 150-200 กรัม/วัน และมีเปอร์เซ็นต์เนื้อแดง 1.5-2.5% เพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หมูแดนบรีดไม่ได้เจอกับปัญหาสุขภาพมากนัก ในปี1980-1990 ตัวอย่างที่ไม่ดีที่ไม่ควรทำตามคือ ปัญหาขา และ ระบบสืบพันธุ์ในไก่เนื้อ หลังจากเน้นการปรับปรุงเรื่องการเจริญเติบโตและเน้นกล้ามเนื้ออกเป็นหลัก

การพัฒนาพันธุกรรมด้านโครงสร้าง

โครงสร้างเป็นลักษณะที่ถ่ายทอดต่ำไปถึงกลาง จากการศึกษาของสายพันธุ์ แลนด์เรซ และ ยอร์กเชียร์ มีความหลากหลายอยู่ที่ 0.04-0.15 โดยความหลากหลายไม่ใช่แค่ต่างสายพันธุ์เท่านั้นแต่ต่างสภาพแวดล้อมก็มีผลต่อโครงสร้างเช่นกัน รวมถึงความเชี่ยวชาญของผู้ประเมิน

ในปีที่ผ่านมา ความสามารถในการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมในเรื่องโครงสร้างของหมู DanBred Landrace, DanBred Yorkshire และ DanBred Duroc ได้แก่ 0.19, 0.15 และ 0.20 ตามลำดับ

ซึ่งการถ่ายทอดทางพันธุกรรมเป็นตัวกำหนดศักยภาพของความก้าวหน้าทางพันธุกรรม แต่หากต้องการพัฒนาหมูให้มีความแข็งแรงจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยทางด้านพันธุกรรมอื่นที่ส่งผลต่อความแข็งแรงร่วมด้วย

จากการศึกษาในปี 2015 ของ หมูแดนบรีดแสดงให้เห็นว่าคะแนนโครงสร้างมีค่าความสัมพันธ์กับจำนวนลูกมีชีวิต 0.36  ซึ่งใกล้เคียงกับความสัมพันธ์ของช่วงหย่านมถึงผสมในลำดับท้องที่ 2 คือ 0.35 นั่นหมายความว่าหมูที่มีลักษณะโครงสร้างที่ดีจะสามารถให้ลูกมีชีวิตที่มากขึ้นและสามารถกลับมาเป็นสัดได้เร็วขึ้น เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีคะแนนโครงสร้างที่น้อยกว่า

Maximising future progress ความก้าวหน้าในอนาคต

แดนบรีดมีการพัฒนาวิธีการประเมินโครงสร้างหมูในการทดสอบพันธุ์ ซึ่งวิธีการใหม่ได้รับการยืนยันว่าสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจำแนกความแตกต่างทางพันธุกรรมที่บ่งบอกถึงความแข็งแรงได้ วิธีการใหม่จะมีวิธีการในการจำแนกคะแนนโครงสร้างได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้สามารถเลือกหมูที่จะนำไปเป็นพ่อแม่พันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดได้แม่นยำมากขึ้น

การกำหนดลักษณะการแสดงออกทางพันธุกรรมใหม่ประกอบไปด้วย ขาหน้า ขาหลัง หลัง รวมถึงการถ่ายทอดลักษณะทั่วไปจากรุ่นก่อน ทำให้มีความหลากหลายในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการดูลักษณะโครงสร้างแบบเดิม

วิธีการใหม่นี้สามารถเพิ่มความสามารถในการถ่ายทอดทางพันธุกรรมและความสามารถในการคาดการณ์ได้สูงขึ้น 10% เทียบกับการดูลักษณะโครงสร้างแบบเดิม โดยการทดสอบนี้ทำให้เห็นว่าความแตกต่างที่เกิดขึ้นระหว่างหมูแต่ละตัวนั้นมีผลจากพันธุกรรมถึง 22% โดยไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม วิธีการแบบใหม่จะเริ่มนำมาใช้ในช่วงฤดูร้อนปี 2019 และคาดการณ์ว่าจะสามารถเพิ่มการคัดเลือกโครงสร้างได้ดีขึ้นจนถึง 5%

 

บทความอื่นๆ
DANBRED Breeding Goal 2024

Danbred Breeding Goal 2024 DANBRED มีเป้าหมายในการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ เพื่อให้ผู้ผลิตสุกรได้รับผลกำไรสูงที่สุด  โดยในปัจจุบันสุกรขุนแดนบรีดสามารถสร้างกำไรเพิ่มขึ้นต่อปีถึง 1.65 ยูโรต่อตัว (61.48 บาทต่อสุกรขุนต่อปี)และมีการปรับเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลกำไรขึ้นอีกเป็น 2.79 ยูโรต่อสุกรขุน ( 103.96 บาทต่อตัวต่อปี ) พัฒนาประสิทธิภาพสุกรขุน อย่างต่อเนื่อง (Productivity) สุกรขุนสายพันธุ์ DANBRED ได้รับการยอมรับในระดับโลก ว่าสามารถให้ผลกำไรกับผู้เลี้ยงมากที่สุด ด้วยอัตราการ เจริญเติบโตต่อวันสูง ประสิทธิภาพการใช้อาหารเหนือกว่า และคุณภาพเนื้อที่มีคุณภาพ ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตลดลง จากการรายงานประสิทธิภาพสุกรขุนช่วง 30-110 กิโลกรัม ในประเทศเดนมาร์กในปี 2023 พบว่า สุกรขุน DANBRED มีอัตราการเจริญเติบโตต่อวัน(ADG)  จาก 1,024 กรัมเป็น 1,037 กรัม เพิ่มขึ้น 13 กรัมต่อวัน เมื่อเทียบกับปี 2022 นอกจากนี้ ฟาร์มสุกรขุน DANBRED 5 อันดับแรกในประเทศเดนมาร์ก มี […]

24 Nov 2024
DANBRED IS JUST BETTER แดนบรีด… สายพันธุ์ที่เหนือกว่า part 2

จากผลการทดสอบคุณภาพซากสุกรขุน อายุ 23 สัปดาห์ ระหว่างสุกรสายพันธุ์ DANBRED กับสุกรสายพันธุ์อื่นจากเดนมาร์กผลลัพธ์คือ DANBRED มีคุณภาพซากเหนือกว่าและมีน้ำหนักเข้าเชือดสูงกว่าถึง 9.4 กก. ในระยะเวลาเลี้ยงเท่ากัน     ♦ DANBRED สายพันธุ์ที่เหนือกว่าทั้งอัตราการเจริญเติบโต และคุณภาพซาก คุณภาพและปริมาณเนื้อแดง ได้เป็นเป้าหมายสำคัญในการปรับปรุงพันธุกรรมในสายพันธุ์แม่ของสุกรแดนบรีด (Landrace, Yorkshire, Duroc) มาตั้งแต่ปี 2017 และยังคงได้รับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยความสำเร็จเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพซากและการติดตามพันธุกรรมของสุกรขุนมากกว่า 20 ล้านตัว/ปี จาก DANISH CROWN ซึ่งเป็นรัฐวิสากิจโรงเชือดและตัดแต่งสุกรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์ก จึงทำให้สุกรขุนจากแดนบรีดเป็นสุกรที่เหนือกว่าทั้งด้านคุณภาพและปริมาณเนื้อแดง รวมถึงเป็นสายพันธุ์ที่ให้กำไรสูงสุดกับผู้เลี้ยงและผู้แปรรูปเนื้อสุกร   ♦ สุกรขุนแดนบรีด 130 กก. ซากสวย เนื้อแดงเยอะ ที่น้ำหนัก 130 กก. สุกรขุนแดนบรีด สามารถให้คุณภาพซากในระดับดีเยี่ยม โดยให้สัดส่วนเนื้อสันใน สันนอกและสามชั้น ปริมาณมาก ในทางกลับกันยังคงมีสัดส่วนไขมันเปลวและชั้นไขมันใต้ผิวหนังต่ำกว่าสุกรสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลจากการเน้นพัฒนาพันธุกรรมเพื่อคุณภาพเนื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงสุกรขุนถึงน้ำหนัก 130 กก.ได้ […]

16 Oct 2024
DANBRED IS JUST BETTER แดนบรีด… สายพันธุ์ที่เหนือกว่า part 1

จากผลการทดลองเลี้ยงจริงเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การเจริญเติบโตของสุกรขุนระหว่างสุกรสายพันธุ์ DANBRED กับสุกรสายพันธุ์อื่นจากเดนมาร์ก สรุปได้ว่า สุกร DANBRED ให้ผลกำไรกับผู้เลี้ยงได้สูงที่สุดและมากกว่าสายพันธุ์อื่นถึง 523 บาทต่อตัว       ♦ DANBRED มุ่งมั่นพัฒนาสายพันธุ์ที่เหนือกว่า “ผลลัพธ์และผลกำไรที่เหนือกว่าอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีต้นกำเนิดจากเดนมาร์กคล้ายกัน” เนื่องจาก DANBRED มุ่งเป้ายกระดับการผลิต ทั้งเรื่อง ลูกดกและพัฒนาประสิทธิภาพสุกรขุนไปพร้อมกัน ส่งผลให้ ADG, FCR และ FCG ของสุกรขุนดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยใช้เทคโนโลยีการคัดเลือก DNA เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาสายพันธุ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลสุกรพันธุ์ในระบบ มากกว่า 35 ล้านตัว อีกทั้งการเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ของประเทศเดนมาร์ก จึงทำให้ DANBRED มีเป้าหมาย ที่ชัดเจนและก้าวสู่การเป็นองค์กรระดับโลก ด้วยเงินลงทุน เพื่อวิจัยและพัฒนามากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี   ♦ แอมโก้เวท ยืนยัน ADG 1,100+ กรัม/วัน ทำได้จริง จากผลการทดลองเลี้ยงจริงล่าสุดในฟาร์มระบบปิดใน […]

29 Sep 2024

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save