ความสำเร็จของฟาร์ม เริ่มต้นที่หมูสาวทดแทน

เริ่มต้นจากหมูสาวสู่ความสำเร็จของฟาร์ม

การเลี้ยงหมูในปัจจุบัน ได้พัฒนาต่างจากการเลี้ยงในอดีตมาก ได้มีการนำหลักวิชาการต่างๆ เข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มผลผลิตของฟาร์มมากขึ้น ซึ่งทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงเริ่มให้ความสนใจในการพัฒนาผลผลิตของฟาร์ม และเป็นไปไม่ได้เลยหากเราไม่เริ่มตั้งแต่จุดเริ่มต้นของฟาร์ม นั่นคือการรับหมูสาวเข้าฟาร์ม เพราะหมูสาวคือตัวกำหนดอนาคตของฟาร์มได้ดีที่สุด

การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในฝูงพ่อแม่พันธุ์ ตัวชี้วัดที่นิยมใช้กันคือ ลูกหย่านมต่อแม่ทับต่อปี หรือ P/S/Y ซึ่งเป็นค่าที่สามารถบอกได้ว่าฟาร์มของเราสามารถทำกำไรได้มากหรือน้อยเพียงใด โดยเฉลี่ย P/S/Y ในประเทศไทยจะอยู่ที่ประมาณ 22-25 ตัวต่อแม่ต่อปี ซึ่งถ้าหากเราสามารถเพิ่มจำนวนลูกหย่านมได้มากขึ้นตามการปรับปรุงพันธุ์ของหมูเดนมาร์กที่สามารถทำได้มากกว่า 30 ตัวต่อแม่ต่อปี นั่นคือกำไรของฟาร์มที่มากขึ้นโดยต้นทุนของฟาร์มเท่าเดิม จะดีกว่าไหมถ้าเราเลือกสายพันธุ์ที่ให้ลูกดก แข็งแรง มาพัฒนาผลผลิตของฟาร์มเรา

หมูเดนมาร์ก เป็นที่รู้โดยทั่วกันอยู่แล้วว่า เป็นสายพันธุ์ที่ให้ลูกดก จำนวนลูกทั้งหมดเฉลี่ยมีมากกว่า 16 ตัว/แม่ ซึ่งถ้าทำให้ลูกดกตั้งแต่ในท้องแรกท้องถัดๆไปจะให้ลูกที่ดกขึ้นเช่นกัน  นอกจากสายพันธุ์ที่ให้ลูกดกแล้ววิธีการจัดการของหมูสาวอย่างไรที่จะทำให้เราได้ลูกดกสูงสุด จึงได้รวบรวมปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของหมูสาว ดังนี้

 

ตารางที่ 1 กราฟแสดงหมูสาวที่ผสมในสัด 1 2 และ 3 ในอายุ 6 7 และ 8 เดือน

 

1. อายุที่เริ่มผสม 230-250 วัน หรือ 32-35 สัปดาห์ และให้เริ่มผสมหลังจากเช็คสัดครั้งที่ 2 เป็นต้นไป ดังนั้นอายุที่เหมาะสมสำหรับหมูเดนมาร์ก จะเริ่มผสมที่อายุ 32-35 สัปดาห์ เป็นช่วงที่มีความสมบูรณ์พันธุ์พร้อมรับการผสมมีพื้นที่ในการฝังตัวมากขึ้น จากการศึกษาพบว่าให้หมูสาวอายุมากกว่า 7-8 เดือนให้จำนวนลูกที่มากกว่าหมูสาวที่ผสมอายุ 6 เดือนและผสมในสัดที่ 2 หรือ 3 ให้จำนวนลูกมากกว่าผสมในสัดที่ 1 ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 2 อัตราการเจริญเติบโตตั้งแต่หย่านมถึงผสมครั้งแรก

2. น้ำหนักที่เริ่มผสมประมาณ 130-155 กิโลกรัม โดยมีอัตราการเจริญเติบโตอยู่ที่ 750-800 กรัมต่อวัน ที่น้ำหนัก 30-140 กิโลกรัม เมื่อหมูสาวมีการเจริญเติบโตได้ตามเกณฑ์บ่งบอกว่าหมูมีความสมบูรณ์พร้อมรับการผสม สามารถพัฒนาระบบเต้านม ช่วยเพิ่มขนาดครอก และที่สำคัญทำให้ยืดอายุการใช้งานของหมูสาวได้ ไม่ควรให้หมูสาวมีการเจริญเติบโตรวดเร็วจนเกินไป เพราะมีผลต่อการพัฒนาของมวลกระดูกที่ทำให้หมูสาวรับน้ำหนักอุ้มท้องที่มากขึ้นไม่ได้ ดังตารางที่ 2 แสดงถึงอัตราการเจริญเติบโตของหมูสาวแต่ละช่วงอายุตั้งแต่หย่านมจนถึงเริ่มผสมครั้งแรก

3. ค่าไขมันที่กระดูกสันหลังตำแหน่งที่ P2 อยู่ที่ 12-15 มิลลิเมตร ในช่วงก่อนผสม โดยไขมันบริเวณกระดูกสันหลังจะเป็นแหล่งพลังงานสะสมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อนทำให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้ดีขึ้น มีโอกาสเพิ่มจำนวนลูกทั้งหมดได้มากขึ้น ซึ่งค่าไขมันที่กระดูกจะสัมพันธ์กับน้ำหนักและขนาดตัวของสุกร แสดงถึงความพร้อมรับในการรับการผสม

4. ให้พ่อเช็คสัดเข้ากระตุ้นหมูสาวที่อายุ 200 วัน หรือ 28 สัปดาห์ เป็นต้นไป การนำพ่อเข้าเช็คสัดเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการจับสัด และกระตุ้นการเป็นสัดของหมูสาวได้ดียิ่งขึ้น ทำให้สามารถวางแผนการผสมได้อย่างถูกต้องเพิ่มโอกาสการผสมติดได้ดีขึ้น

5. การปรนอาหารหมูสาวก่อนผสม 7-10 วัน โดยเพิ่มปริมาณอาหารจากเดิมที่ให้วันละ 2.9 กิโลกรัม เป็น 3.5-4.0 กิโลกรัมต่อวัน เพื่อกระตุ้นให้มีการตกไข่มากขึ้น ดังตารางที่ 3 แสดงถึงปริมาณการให้อาหารแต่ละช่วงอายุจนถึงช่วงปรนอาหารก่อนผสม

 


ตารางที่ 3 ปริมาณการให้อาหารแต่ละช่วงอายุ และ ปรนอาหารก่อนผสม

 

จากปัจจัยที่ผลต่อประสิทธิภาพการผลิตของหมูสาวที่ได้กล่าวมานั้น ได้มีการทดลองใช้ในฟาร์มของเครือแอมโก้เวทและพบว่าสอดคล้องกับผลผลิตของฟาร์มทำให้ผลผลิตของฟาร์มเป็นไปตามเป้าหมาย โดยตั้งเป้าหมายจำนวนลูกมีชีวิตในท้องแรกให้ได้มากกว่า 14 ตัว/แม่ และเพิ่มมากขึ้นในท้องถัดๆไป ดังตารางที่ 4 แสดงโปรแกรมหมอหมูแสดงจำนวนลูกทั้งหมดและลูกมีชีวิตจำแนกโดยลำดับท้อง

ตารางที่ 4 โปรแกรมหมอหมูแสดงจำนวนลูกทั้งหมดและลูกที่มีชีวิต จำแนกโดนลำกับการท้อง

 

จำนวนลูกหย่านม 30 ต่อแม่ต่อปี คงไม่ไกลเกินเอื้อม ….. เริ่มต้นที่หมูสาวแอมโก้เวท

บทความอื่นๆ
DANBRED IS JUST BETTER แดนบรีด… สายพันธุ์ที่เหนือกว่า part 2

จากผลการทดสอบคุณภาพซากสุกรขุน อายุ 23 สัปดาห์ ระหว่างสุกรสายพันธุ์ DANBRED กับสุกรสายพันธุ์อื่นจากเดนมาร์กผลลัพธ์คือ DANBRED มีคุณภาพซากเหนือกว่าและมีน้ำหนักเข้าเชือดสูงกว่าถึง 9.4 กก. ในระยะเวลาเลี้ยงเท่ากัน     ♦ DANBRED สายพันธุ์ที่เหนือกว่าทั้งอัตราการเจริญเติบโต และคุณภาพซาก คุณภาพและปริมาณเนื้อแดง ได้เป็นเป้าหมายสำคัญในการปรับปรุงพันธุกรรมในสายพันธุ์แม่ของสุกรแดนบรีด (Landrace, Yorkshire, Duroc) มาตั้งแต่ปี 2017 และยังคงได้รับการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยความสำเร็จเกิดจากการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพซากและการติดตามพันธุกรรมของสุกรขุนมากกว่า 20 ล้านตัว/ปี จาก DANISH CROWN ซึ่งเป็นรัฐวิสากิจโรงเชือดและตัดแต่งสุกรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศเดนมาร์ก จึงทำให้สุกรขุนจากแดนบรีดเป็นสุกรที่เหนือกว่าทั้งด้านคุณภาพและปริมาณเนื้อแดง รวมถึงเป็นสายพันธุ์ที่ให้กำไรสูงสุดกับผู้เลี้ยงและผู้แปรรูปเนื้อสุกร   ♦ สุกรขุนแดนบรีด 130 กก. ซากสวย เนื้อแดงเยอะ ที่น้ำหนัก 130 กก. สุกรขุนแดนบรีด สามารถให้คุณภาพซากในระดับดีเยี่ยม โดยให้สัดส่วนเนื้อสันใน สันนอกและสามชั้น ปริมาณมาก ในทางกลับกันยังคงมีสัดส่วนไขมันเปลวและชั้นไขมันใต้ผิวหนังต่ำกว่าสุกรสายพันธุ์อื่นอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นผลจากการเน้นพัฒนาพันธุกรรมเพื่อคุณภาพเนื้ออย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงสุกรขุนถึงน้ำหนัก 130 กก.ได้ […]

16 Oct 2024
DANBRED IS JUST BETTER แดนบรีด… สายพันธุ์ที่เหนือกว่า part 1

จากผลการทดลองเลี้ยงจริงเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การเจริญเติบโตของสุกรขุนระหว่างสุกรสายพันธุ์ DANBRED กับสุกรสายพันธุ์อื่นจากเดนมาร์ก สรุปได้ว่า สุกร DANBRED ให้ผลกำไรกับผู้เลี้ยงได้สูงที่สุดและมากกว่าสายพันธุ์อื่นถึง 523 บาทต่อตัว       ♦ DANBRED มุ่งมั่นพัฒนาสายพันธุ์ที่เหนือกว่า “ผลลัพธ์และผลกำไรที่เหนือกว่าอย่างชัดเจน ถึงแม้จะมีต้นกำเนิดจากเดนมาร์กคล้ายกัน” เนื่องจาก DANBRED มุ่งเป้ายกระดับการผลิต ทั้งเรื่อง ลูกดกและพัฒนาประสิทธิภาพสุกรขุนไปพร้อมกัน ส่งผลให้ ADG, FCR และ FCG ของสุกรขุนดีขึ้นอย่างก้าวกระโดด โดยใช้เทคโนโลยีการคัดเลือก DNA เพื่อปรับปรุงและ พัฒนาสายพันธุ์จากการวิเคราะห์ข้อมูลสุกรพันธุ์ในระบบ มากกว่า 35 ล้านตัว อีกทั้งการเป็นองค์กรรัฐวิสาหกิจ ของประเทศเดนมาร์ก จึงทำให้ DANBRED มีเป้าหมาย ที่ชัดเจนและก้าวสู่การเป็นองค์กรระดับโลก ด้วยเงินลงทุน เพื่อวิจัยและพัฒนามากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี   ♦ แอมโก้เวท ยืนยัน ADG 1,100+ กรัม/วัน ทำได้จริง จากผลการทดลองเลี้ยงจริงล่าสุดในฟาร์มระบบปิดใน […]

29 Sep 2024

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save