สรุปสาระสำคัญงานสัมมนา ASF Prevention เรียนรู้การป้องกัน ASF

สรุปสาระสำคัญงานสัมมนา
วันที่ 29/11/2564

โดย Dr. Zheng Zezhong ประเทศจีน

African swine fever

  • ASF Genotype ที่ก่อโรคในจีนและทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ Genotype 2
  • ตัวไวรัส ASF ประกอบไปด้วยโปรตีนหลายชนิด ซึ่ง 34% ของโปรตีน ยังคงไม่ทราบหน้าที่การทำงานที่แท้จริง ทำให้ปัจจุบัน การคิดค้นและผลิตวัคซีนยังอยู่ในช่วงของการทดลอง สำหรับประเทศจีน ยังไม่มีวัคซีนออกขายตามตลาด เพราะติดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของวัคซีน
  • ASF สามารถอยู่ในเนื้อแช่แข็งได้นานกว่า 1000 วัน

อาการ หมูที่ติดเชื้อ ASF ในประเทศจีน แบบเฉียบพลัน แสดงอาการใน 7-10 วัน โดยมักพบว่า สุกรไม่กินอาหาร กินลดลง ไม่ค่อยเคลื่อนไหว เมื่อเวลาผ่านไป และเริ่มมีผื่นแดง ใบหูม่วง
รอยโรค ต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ ม้ามมีขนาดใหญ่มาก สุกรบางตัวม้ามมีขนาดใหญ่ถึง 1 เมตร

คำถาม คำตอบ (Q & A)

1.แนวคิดในเรื่องการพัฒนาวัคซีน ASF ในอนาคต

  • วัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine) ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผลในการป้องกันโรค ASF
  • วัคซีนเชื้อเป็น (MLV) ในบางการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพดีแต่เรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
  • วัคซีนที่ผลิตมาจากชิ้นส่วนของไวรัส (subunit vaccine) เป็นชนิดที่ดูมีความเป็นไปได้มากที่สุด

2.มีความคิดเห็นอย่างไรกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสกัดจากธรรมชาติในบรรเทาการระบาดของโรค ASF

  • มีโอกาสเป็นไปได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีสารเสริมอาหารตัวใดที่ช่วยในการฆ่าเชื้อ ASF โดยตรง

3.ทำไมการใช้วัคซีนถึงทำให้สถานการณ์ของโรค ASF แย่ลง

  • วัคซีนเชื้อตายทำให้เกิดปฏิกิริยา antibody
    dependent enhancement ซึ่งไม่ดีต่อร่างกายสัตว์
  • วัคซีนเชื้อเป็น (MLV) ไม่สามารถหยุดการแพร่เชื้อใน
    ฝูงได้ และทำให้เกิดการแพร่เชื้อในฝูง

4. มีข้อแนะนำในการสร้างฝูงใหม่หลังการเกิดโรคระบาดในประเทศจีนอย่างไร

การสร้างฝูงใหม่ควรมีการวางแผนการทำงานก่อน เบื้องต้นควรมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อก่อนนำสุกรเข้าฝูง ควรฆ่าเชื้ออุปกรณ์ด้วยความร้อน
(>70 °C เป็นระยะเวลา 30 นาที)

5. การพัฒนาวัคซีน ASFV-G-ΔI177L มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นตัวช่วยในการควบคุมโรค อย่างไรก็ตามควรผ่านการศึกษาความปลอดภัยก่อนออกสู่ตลาด
6. ตัวอย่างที่นิยมใช้ส่งตรวจ ASF ในประเทศจีน ได้แก่ สวอปรางอาหาร, สวอปจมูกและน้ำลายจากสุกรที่มีชีวิต และ ตัวอย่างเลือดจากสุกรที่ป่วยและสุกรที่ตายแล้ว
7. ถ้าฟาร์มสามารถยืนยันได้ว่าปลอดเชื้อ ASF ภายหลังการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ ก็ไม่จำเป็นต้องพักโรงเรือน แต่โดยประสบการณ์แล้ว จะต้องใช้เวลาพักโรงเรือนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้าอากาศร้อนและแห้ง ไวรัสสามารถเสื่อมสลายได้ภายใน 7 วัน
8. สุกรตั้งท้องคือสุกรที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอที่สุด ทำให้มีความอ่อนแอต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งความไวต่อการติดเชื้อ ASF บางส่วนขึ้นอยู่กับสถานะสุขภาพของฝูงสุกรเช่นกัน

Take home message

  1. ระบบป้องกันโรคทางชีวภาพคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรค
  2. การตรวจและคัดออกเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค
  3. ควรระวังการใช้วัคซีนในการป้องกันโรค เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเรื่องความปลอดภัย
  4. อย่าทดลองใช้ยาที่ไม่ทราบที่มาและประสิทธิภาพของยา

ระบบการป้องกันโรคทางชีวภาพ

  1. ยานพาหนะ
  2. สัตว์
  3. อาหารและน้ำ
  4. อุปกรณ์ในฟาร์ม
  5. คนงาน
  6. การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ

ระบบการป้องกันโรคทางชีวภาพ

 

1. ยานพาหนะ

อดีต: ยานพาหนะเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งในปี 2018-2019 สาเหตุของการระบาดในประเทศจีน มาจากยานพาหนะมากที่สุด โดยรถที่ใช้ขนสุกรติดเชื้อออกนอกฟาร์ม เป็นคันที่ใช้ขนสุกรจากหลายๆฟาร์ม รวมถึงการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถที่ไม่ดี ทำให้มีเชื้อปนเปื้อนและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค ASF

ปัจจุบัน: ฟาร์มสุกรแต่ละที่จะมีรถขนสุกรเป็นของตัวเอง มีการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม มีสถานีการขนส่งหมูจากภายในสู่ภายนอกฟาร์ม โดยมีระยะห่างจากฟาร์ม 1-2 กม. มีการสกรีนรถที่จะเข้ามาในฟาร์ม รถภายนอกไม่สามารถเข้ามาในฟาร์มได้

2. สัตว์

  • สุกรอื่นที่เข้ามาในฟาร์มมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นตัวนำโรค

ซึ่งระบบการผลิต ที่ฟาร์มผลิตแม่สุกรเอง หรือซื้อแม่สุกรเข้ามาที่ฟาร์มก็ส่งผลต่อความเสี่ยงในการนำเชื้อเข้าสู่ฟาร์ม

  • ควรทำระบบ batch หรือ เลี้ยงสุกรแบบ เข้าหมดออกหมด
  • การขายสุกร ต้องมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถที่เข้ามาซื้อสุกร หรือทำเล้าขาย ฟาร์มที่ประเทศจีนจะมีอุโมงค์ที่เป็นทางออกระหว่างโรงเรือนออกมาสู่ภายนอกยาวกว่า 100 เมตร เพื่อขนสุกรออกจากฟาร์ม
  • ไม่นำสุกรที่ออกจากฟาร์มแล้วกลับเข้ามาในฟาร์มอีก และหลังจากทำการขายสุกร ควรทำการทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ทั้งคน ยานพาหนะและอุปกรณ์ทั้งหมด

3. อาหารและน้ำ

  • อาหารสามารถเป็นหนึ่งในสาเหตุของการแพร่ระบาดโรค ASF ได้เช่นกันเหมือนกับโรค PED
  • การผลิตอาหารสัตว์ ที่จีนจะนำอาหารไปผ่านความร้อนสูง
    (> 85 °C นานกว่า 3 นาที) ในขั้นตอนสุดท้าย และเมื่ออาหารถึงฟาร์ม จะทำการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ จากนั้นเก็บอาหารไว้ในโรงเก็บอาหารก่อน (> 3 วัน) ให้อาหารมีความแห้ง
  • แหล่งน้ำผิวดินมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนมากที่สุด สำหรับฟาร์มที่ตั้งอยู่ในแหล่งการระบาดของโรค ASF จึงต้องมีระบบการกรองและการฆ่าเชื้อในน้ำ ที่มีคุณภาพสูง เช่น ระบบ
    UV-C โดยพบว่า รังสี UV-C มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อในน้ำ

4. อุปกรณ์ต่างๆภายในฟาร์ม

  • คนงานอาศัยอยู่ในฟาร์ม 100% แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนชัดเจน
  • งดการซื้อของจากตลาดสด และไม่นำเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากสุกรเข้ามาในฟาร์ม
  • ของใช้ส่วนตัวของคนงาน จะมีมาตรการการฆ่าเชื้อ เช่น การใช้ความร้อน, การแช่อุปกรณ์ที่ซื้อจากภายนอกในน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือการนึ่งไอน้ำ (> 65 °C เป็นระยะเวลา30 นาที)
  • วัคซีนและยา: มีการทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ภายนอก อบโอโซน หรือแช่บรรจุภัณฑ์ในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนนำเข้ามาใช้ในฟาร์ม

5. คนงาน

  • หลีกเลี่ยงการออกไปฟาร์มอื่น, โรงฆ่าสัตว์ และ ตลาดสด
  • บุคคลที่ออกจากฟาร์ม ต้องทำการพักโรคอย่างน้อย 1 คืน
  • แผนฟังฟาร์มควรเป็นเส้นทางเดียว เพื่อบังคับให้ทุกคนต้องอาบน้ำก่อนเข้าสู่ภายในฟาร์ม
  • คนงานจะต้องอาบน้ำและสระผมอย่างน้อย 5 นาที เพื่อทำให้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนตามร่างกายได้ นอกจากนี้ควรมีแปรงขัดมือและเล็บ เพื่อทำความสะอาดตามซอกเล็บอีกด้วย
  • แบ่งเสื้อคนงานตามโซนการทำงาน เพื่อความสะดวกในการแยกกลุ่มคน และ วางแผนวิธีการป้องกันโรคตามพื้นที่ที่ต่างกัน
  1. การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ
  • น้ำยาฆ่าเชื้อมีหลายประเภท ควรเลือกใช้อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามความเข้มข้นและระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์แนะนำ
  • สิ่งสกปรกสามารถทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อบางชนิดเสื่อมสภาพ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ก่อนใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ

การตรวจวินิจฉัยและคัดออก (การถอนฟัน)

  • เป็นวิธีการที่ใช้ในการควบคุมโรค ASF ในประเทศจีน
  • สุกรที่ติดเชื้อเปรียบเสมือนฟันที่ไม่ดี ต้องทำการถอนฟันหรือ
    คัดออกจากฝูง
  • โดยทำการตรวจหาสุกรที่มีผลบวก ASF ด้วยวิธีการ PCR แล้วคัดออกจากฝูงให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการระบาดภายในฝูง

หลักการการตรวจและคัดออก

  • ASF เป็นไวรัสที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อ ต่ำ มีการระบาดของโรคในฝูงสุกรอย่างช้าๆ แต่เมื่อสุกรมีการติดเชื้อ จะมีอัตราการตายสูง
  • ช่องทางการติดเชื้อ คือ การติดต่อโดยการสัมผัส เป็นหลัก
  • ยังมีช่วงเวลาที่สามารถตรวจเจอสุกรมีผลบวก ก่อนที่สุกรจะแพร่เชื้อไวรัสออกสู่ร่างกาย

วิธีการปฏิบัติ

1.คนงานต้องมีการตรวจสุขภาพฝูงอยู่เป็นประจำ ทุกๆวัน

2.เมื่อพบเจอสุกรแสดงอาการผิดปกติ เช่น กินอาหารลดลง หรือ นอนเฉย หรือแยกตัวออกจากฝูง ให้ทำการตรวจหาเชื้อASF ด้วยการสวอปจมูกหรือน้ำลายทันที

3.การตรวจ PCR ต้องรู้ผลภายในวันนั้นๆ

4.เมื่อพบสุกรแสดงผลบวกต่อโรค ASF .ให้หยุดกิจกรรมภายในฟาร์มทันที แยกคนงาน วางแผนการเคลื่อนย้ายสุกรออก

5.ทำการการุณยฆาตสุกรและสุกรที่อยู่ข้างเคียงออกจากฝูงแล้วทำการฆ่าเชื้อพื้นที่ให้สะอาด

6.ตรวจซ้ำทั้งฝูง 2 – 3 ครั้ง หมั่นนำสุกรติดเชื้อและสุกรข้างเคียงออกจากฟาร์ม

 

สิ่งสำคัญ

1.ในประเทศจีน แต่ละฟาร์มมีเครื่อง qPCR อย่างน้อย 1 – 2 เครื่อง เพื่อใช้ตรวจโรคภายในฟาร์ม

2.ดูแลสุขภาพสัตว์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะดู้ถึงความผิดปกติอย่างทันท่วงที

3.มีทีมที่พร้อมทำงานและวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

บทความอื่นๆ
บริษัท แอมโก้เวท จำกัด ได้รับเกียรติเชิญเข้าร่วมงาน “Danish Livestock and Food Processing Business Delegation”

วันที่ 28 กันยายน 2566 บริษัท แอมโก้เวท จำกัด ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ  Jon Thorgaard เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย เชิญเข้าร่วมงาน “Danish Livestock and Food Processing Business Delegation” ท่านเป็นเจ้าภาพเปิดบ้านเลี้ยงต้อนรับคณะนักธุรกิจด้านปศุสัตว์จากประเทศเดนมาร์ก และประเทศไทย อีกทั้งยังถือโอกาสร่วมฉลองและลงนามแสดงความยินดีกับกระทรวงเกษตร อาหาร และการประมงของประเทศมาร์ก ในโอกาสที่เนื้อวัวและซากวัวจากเดนมาร์กนั้นได้ผ่านการอนุมัติให้ส่งออกมายังประเทศไทยได้ ภายในงานมีพาร์ทเนอร์ของเราจาก บริษัท Danbred , R2AGRO และ SKOV  และเรียนเชิญลูกค้าของแอมโก้เวท เข้าร่วมงาน โดยมุ่งมั่นเพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำด้านธุรกิจด้านปศุสัตว์ ด้วยสินค้าจากนวัตกรรมจากประเทศเดนมาร์ก

20 Oct 2023
เทรนด์พลังงานที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

เทรนด์พลังงานที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอีกไม่กี่ปีข้างหน้า…กลุ่มธุรกิจทุกภาคส่วนจะใช้พลังงานทดแทนกันมากขึ้น เพราะปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกภาคส่วนที่ต่างต้องร่วมมือกันเร่งแก้ไขอย่างจริงจัง หาทางออกในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ  กรมปศุสัตว์เป็นหนึ่งในภาครัฐที่ เร่งแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นการดันก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการสนับสนุนการวัดคาร์บอนฟุตพริ้นต์และการขายคาร์บอนเครดิต สอดรับกับนโยบายผลักดันเทรนด์ “ฟาร์มสุกรสีเขียว” เข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน  ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 กรมปศุสัตว์ โดยสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ มีโครงการก๊าซชีวภาพระดับชุมชนจากฟาร์มสุกร โดยมีฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 12 ฟาร์ม สามารถขายคาร์บอนเครดิตรวม 11,987 tCO2eq คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.25 ล้านบาท นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังได้มีโครงการส่งเสริมระบบบำบัดน้ำเสียชนิดผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มสุกร ซึ่งได้ลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ดังนั้น การยกระดับการดันก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร เป็นตัวแปรที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Emissions) แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/collaborated-news/26130-dldcarbon160366

6 Oct 2023
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ในตลาดคนเลี้ยงสุกร ถือว่าเข้าช่วงวิกฤต

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ในตลาดคนเลี้ยงสุกร ถือว่าเข้าช่วงวิกฤต จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางภาครัฐต้องตระหนักในการเข้ามาเป็นมีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความมั่นคงในการช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไทยฟื้นตัวได้อย่าง ยั่งยืนให้ครอบคลุมในระยะยาว วางแผนและจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้เพียงพอ สรรหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทน อาทิ ข้าวโพด ปลายข้าว รำข้าว และมันสำปะหลัง เพื่อช่วยลดต้นทุน มีมาตรการกำกับดูแล และเข้มงวดตรวจจับหมูเถื่อน ยกระดับในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำฟาร์มสุกรให้ได้มาตรฐาน GFM และระบบไบโอซิเคียวริตี้ ในเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนได้รวดเร็วและถูกต้อง แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230127163443204

6 Oct 2023

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save