เกษตรกรรายย่อยอ่วม วัตถุดิบราคาแพง เราจะแก้วิกฤตนี้ได้อย่างไร ?

สถานการณ์ของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมานั้น เพิ่มสูงขึ้นมากและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ นม และไข่ ในราคา ที่สูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุนของการเลี้ยงสัตว์กว่า 60-70%

ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างประเทศถึง 60% และใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศเพียง 40% การขึ้น-ลงของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ขึ้นกับ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยภายในประเทศ ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการต่างๆ เช่น การจัดเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี และการจำกัดช่วงเวลาการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน 2) สถานการณ์ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก รวมถึงค่าบริหารและค่าขนส่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฏการณ์เอลนินโญ่ และลานินญ่า ภัยแล้ง น้ำท่วม ทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณลดลง และราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนตัว ทำให้การนำเข้าวัตถุดิบมีต้นทุนสูงขึ้น อีกทั้งการฟื้นตัวจากสถานการณ์ โรคระบาดโควิด-19 และ ASF ของประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกกลับมาซื้อวัตถุดิบ ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน และมีราคาสูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์สงครามที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ เนื่องจากประเทศรัสเซียเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์ รายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะข้าวสาลีสำหรับอาหารสัตว์ (ประเทศรัสเซียส่งออกข้าวสาลีประมาณ 29% และข้าวโพดประมาณ 19% ของตลาดโลก) เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 ราคากากถั่วเหลืองชิคาโกปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี เนื่องจากปัญหาความแห้งแล้งในประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งหลายสำนักคาดการณ์ว่าผลผลิตถั่วเหลืองจากประเทศอาร์เจนตินาจะลดลงเหลือ 37-38 ล้านตัน และ USDA คาดการณ์ว่าผลผลิตกากถั่วเหลืองในปี 2566 จะลดลง 5 ล้านตันจากปี 2565 และนอกจากวัตถุดิบอาหารสัตว์แล้ว ผลิตภัณฑ์กลุ่มสารเสริม กรดอะมิโน วิตามิน แร่ธาตุ และยาปฎิชีวนะ ก็มีการปรับราคาสูงขึ้นด้วย เนื่องจากมีความแปรผันไปตามราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้น

ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีส่วนเชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่า ดังนั้นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ส่งออกไปสู่ประเทศในสหภาพยุโรป ต้องไม่ใช้วัตถุดิบที่ปลูกในพื้นที่ป่าถูกบุกรุกอีกด้วยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อาหารสัตว์ทุกประเภทในปี 2566 ขยับตัวสูงขึ้นกว่าปี 2565 ประมาณ 10% ประกอบไปด้วยค่าบริหารจัดการ ค่าแรงงาน ค่าเชื้อเพลิง ในการผลิตอาหารสัตว์ปรับขึ้นอีก 15-20% ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตอาหารสัตว์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ทำให้ผู้เลี้ยงต้องปรับตัวโดยเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือกมาทดแทนเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ โดยที่คุณภาพของอาหารสัตว์ไม่เปลี่ยนแปลงแต่วัตถุดิบทดแทนบางชนิดอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ ดังนั้นการเลือกใช้วัตถุดิบทดแทน จึงต้องเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีเพื่อคงคุณภาพของอาหารสัตว์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อาหารสัตว์ทุกประเภทในปี 2566 ขยับตัวสูงขึ้นกว่าปี 2565 ประมาณ 10% ประกอบไปด้วยค่าบริหารจัดการ ค่าแรงงาน ค่าเชื้อเพลิง ในการผลิตอาหารสัตว์ปรับขึ้นอีก 15-20% ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตอาหารสัตว์ และเกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ ทำให้ผู้เลี้ยงต้องปรับตัวโดยเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือก มาทดแทนเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ โดยที่คุณภาพของอาหารสัตว์ไม่เปลี่ยนแปลงแต่วัตถุดิบทดแทนบางชนิดอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ ดังนั้นการเลือกใช้วัตถุดิบทดแทน จึงต้องเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีเพื่อคงคุณภาพของอาหารสัตว์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด

บริษัท แอมโก้เวท จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าสุกรสายพันธุ์เดนมาร์ก และเป็นผู้นำด้านการพัฒนาสายพันธุ์สุกร จนทำให้สุกรเดนมาร์กเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเป็นอันดับหนึ่งของผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทย พร้อมทั้งมีทีมวิชาการที่คอยช่วยเหลือลูกค้าในด้านข้อมูลวิชาการและการจัดการฟาร์มในการช่วยดูผลผลิตภายในฟาร์มเพื่อให้มีผลกำไรมากขึ้น โดยทางคุณหมอเจี๊ยบ (นายสัตวแพทย์ เสริมศักดิ์ เจี๊ยบนา) ได้ตระหนักถึงต้นทุนในการเลี้ยงสุกรในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นต้นทุนค่าอาหาร ต้นทุนการจัดการในการป้องกันและรักษาโรค ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนการเงิน ทางคุณหมอได้ทำการค้นคว้าวิจัยและทดลองสินค้าทางเลือกเพื่อลดต้นทุนในสูตรอาหารโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตของสุกร ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาภายในฟาร์ม พบว่า นาทูโปร (Natupro®) เป็นผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกใหม่ ที่มีประสิทธิภาพย่อยง่าย ดูดซึมได้ดี ร่างกายสามารถใช้ประโยชน์จากกรดอะมิโนได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก หลักการทำงานของ Natupro คือการเติมเต็มช่องว่างที่สำคัญระหว่างกรดอะมิโนสังเคราะห์ที่ใส่ลงในสูตรอาหาร และกรดอะมิโนที่ผ่านการย่อยโปรตีนในร่างกายสัตว์ซึ่งมีระยะเวลาการย่อยและการดูดซึมที่แตกต่างกัน ดังรูป

การใส่นาทูโปร (Natupro®) เป็นเทคโนโลยีใหม่ ในการทำให้เกิดพันธะระหว่างน้ำตาลและกรดอะมิโนในรูปแบบ Semi-Maillard Reaction ทำงานโดยการปลดปล่อยกรดอะมิโนออกมาอย่างช้าๆ จากปฏิกิริยาภายใต้สภาวะที่เหมาะสมระหว่างการย่อยอาหารใน กระเพาะอาหารของสัตว์ ทำให้สามารถ เสริมระดับกรดอะมิโนที่จำเป็นให้มีปริมาณสูงเพื่อร่างกายสามารถ ดึงไปสร้างกล้ามเนื้อได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการทำสูตรอาหารที่เสริมนาทูโปร (Natupro®) เราสามารถลดปริมาณการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทแหล่งโปรตีน เช่น กากถั่วเหลือง ถั่วอบ ถั่วหมัก ปลาป่น รวมถึงกรดอะมิโนสังเคราะห์บางชนิดลงได้ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์ลดลง ผลิตภัณฑ์นาทูโปร ทำให้สัตว์สามารถรักษาระดับกรดอะมิโนในกระแสเลือดให้คงที่ เพียงพอและเหมาะสมต่อการนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต จึงส่งผลให้สัตว์มีประสิทธิภาพการผลิตและอัตราการแลกเนื้อที่ดีขึ้นอีกทั้งสามารถลดความเครียดของสัตว์ลงได้จากการลดปริมาณโปรตีนในอาหารลง ทำให้ของเสียที่เหลือจากการย่อยอาหารน้อยลง ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย

จากผลการทดลองการใช้ (Natupro®) เปรียบเทียบกับการใช้แหล่งโปรตีนคุณภาพดี เช่น ถั่วเหลืองอบไขมันเต็ม (Full fatsoy; FFS) ในสูตรอาหารสุกรอนุบาล โปรตีน 18% โดยทดลองในสุกรอนุบาลอายุ 4-8 สัปดาห์ (ระยะเวลาการทดลอง 30 วัน)แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใช้นาทูโปร 1% กลุ่มที่ 2 ใช้นาทูโปร 2.5% และกลุ่มที่ 3 ใช้ถั่วเหลืองอบไขมันเต็ม (FFS) 5% พบว่ากลุ่มที่ใช้นาทูโปร 1% และ 2.5% มีอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อที่ดีกว่ากลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอบไขมันเต็ม(FFS) 5% และการใช้นาทูโปร 2.5% นั้นให้ผลที่ดีกว่าการใช้นาทูโปร 1% ดังนั้นการใช้นาทูโปรสามารถใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนคุณภาพดีในสูตรอาหารสุกร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสุกร เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรลดต้นทุนการผลิต ได้กำไรเพิ่มขึ้นและประกอบธุรกิจการเลี้ยงสุกรได้อย่างยั่งยืน

บทความอื่นๆ
บริษัท แอมโก้เวท จำกัด ได้รับเกียรติเชิญเข้าร่วมงาน “Danish Livestock and Food Processing Business Delegation”

วันที่ 28 กันยายน 2566 บริษัท แอมโก้เวท จำกัด ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ  Jon Thorgaard เอกอัครราชทูตเดนมาร์กประจำประเทศไทย เชิญเข้าร่วมงาน “Danish Livestock and Food Processing Business Delegation” ท่านเป็นเจ้าภาพเปิดบ้านเลี้ยงต้อนรับคณะนักธุรกิจด้านปศุสัตว์จากประเทศเดนมาร์ก และประเทศไทย อีกทั้งยังถือโอกาสร่วมฉลองและลงนามแสดงความยินดีกับกระทรวงเกษตร อาหาร และการประมงของประเทศมาร์ก ในโอกาสที่เนื้อวัวและซากวัวจากเดนมาร์กนั้นได้ผ่านการอนุมัติให้ส่งออกมายังประเทศไทยได้ ภายในงานมีพาร์ทเนอร์ของเราจาก บริษัท Danbred , R2AGRO และ SKOV  และเรียนเชิญลูกค้าของแอมโก้เวท เข้าร่วมงาน โดยมุ่งมั่นเพื่อต่อยอดความเป็นผู้นำด้านธุรกิจด้านปศุสัตว์ ด้วยสินค้าจากนวัตกรรมจากประเทศเดนมาร์ก

20 Oct 2023
เทรนด์พลังงานที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

เทรนด์พลังงานที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงไปอีกไม่กี่ปีข้างหน้า…กลุ่มธุรกิจทุกภาคส่วนจะใช้พลังงานทดแทนกันมากขึ้น เพราะปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ทุกภาคส่วนที่ต่างต้องร่วมมือกันเร่งแก้ไขอย่างจริงจัง หาทางออกในการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ  กรมปศุสัตว์เป็นหนึ่งในภาครัฐที่ เร่งแก้ปัญหาโดยมุ่งเน้นการดันก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก รวมทั้งการสนับสนุนการวัดคาร์บอนฟุตพริ้นต์และการขายคาร์บอนเครดิต สอดรับกับนโยบายผลักดันเทรนด์ “ฟาร์มสุกรสีเขียว” เข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน  ซึ่งในปีงบประมาณ 2565 กรมปศุสัตว์ โดยสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ มีโครงการก๊าซชีวภาพระดับชุมชนจากฟาร์มสุกร โดยมีฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 12 ฟาร์ม สามารถขายคาร์บอนเครดิตรวม 11,987 tCO2eq คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3.25 ล้านบาท นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังได้มีโครงการส่งเสริมระบบบำบัดน้ำเสียชนิดผลิตก๊าซชีวภาพในฟาร์มสุกร ซึ่งได้ลดก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่า 2 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี ดังนั้น การยกระดับการดันก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกร เป็นตัวแปรที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการปลดปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net-zero Emissions) แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/collaborated-news/26130-dldcarbon160366

6 Oct 2023
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ในตลาดคนเลี้ยงสุกร ถือว่าเข้าช่วงวิกฤต

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสถานการณ์ในตลาดคนเลี้ยงสุกร ถือว่าเข้าช่วงวิกฤต จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทางภาครัฐต้องตระหนักในการเข้ามาเป็นมีส่วนช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน เพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความมั่นคงในการช่วยให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรไทยฟื้นตัวได้อย่าง ยั่งยืนให้ครอบคลุมในระยะยาว วางแผนและจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ให้เพียงพอ สรรหาวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทน อาทิ ข้าวโพด ปลายข้าว รำข้าว และมันสำปะหลัง เพื่อช่วยลดต้นทุน มีมาตรการกำกับดูแล และเข้มงวดตรวจจับหมูเถื่อน ยกระดับในการส่งเสริมและสนับสนุนการทำฟาร์มสุกรให้ได้มาตรฐาน GFM และระบบไบโอซิเคียวริตี้ ในเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนได้รวดเร็วและถูกต้อง แหล่งอ้างอิงข้อมูล : https://thainews.prd.go.th/th/news/detail/TCATG230127163443204

6 Oct 2023

We use cookies to optimize and enhance the experience of using the website. You can learn more about the use of cookies at Cookie Policy and can choose to consent to the use of cookies. by clicking cookie settings

Privacy Preferences

You can choose cookie settings by on/off. Cookies of each type are available on request, except for Necessary Cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Necessary Cookies
    Always Active

    These types of cookies are essential for the website's operation, i.e. cookies that enable the website to perform basic functions and to allow the website to function normally, such as navigating the website pages. or enable visitors/users of the website to log in and access parts of the website that are reserved for members only. The website will not function properly without these cookies being collected. Therefore, you cannot disable these types of cookies through the system of the Company's website. These cookies do not store information that can personally identify you in any way.

Save