ขณะนี้ผู้ผลิตสุกรทั่วโลกที่ใช้พันธุกรรมของสุกรสายพันธุ์ Danbred สามารถคาดหวังอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรได้สูงขึ้น
เป้าหมายล่าสุดในการพัฒนาสายพันธุ์ Danbred คือการเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกร ด้วยเริ่มด้วยสายพันธุ์ Duroc กล่าวคือ ในเดือนมกราคม 2023 อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรในฝูงที่ผลิตในเดนมาร์กคาดการณ์ว่าจะมีอัตราการรอดชีวิตในลูกสุกรเติบโตขึ้นสูงกว่าปีที่แล้ว 0.8% และคาดว่าในเดือนพฤษภาคมจะมีลูกสุกรที่รอดชีวิตเพิ่มขึ้นอีก 1%
“เราได้เห็นผลลัพธ์ของเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็วในกลุ่มพัฒนาสายพันธุ์สุกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธุ์ Duroc เนื่องจากการปรับปรุงพันธุ์และประสิทธิภาพการผลิตใช้เวลาเพียงไม่กี่เดือน เราจึงคาดว่าการเพิ่มขึ้นของอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรจะเริ่มแสดงให้เห็นในการผลิตในช่วงนี้แล้ว” Tage Ostersen หัวหนาแผนกการปรับปรุงสายพันธุ์ และพันธุศาสตร์ของสภาการเกษตรและอาหารแห่งเดนมาร์กกล่าว
การเจาะลึก LP5 ที่เพิ่มขึ้น
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 เป็นต้นมา ปัจจัยของเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ (Breeding Goal) ที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของลูกหมูที่เพิ่มขึ้น คือ LP5 (จำนวนลูกสุกรที่มีชีวิตรอดที่อายุ 5 วัน) ด้วยการมุ่งหน้าพัฒนา LP5 ทำให้ขนาดครอกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ด้วยเหตุนี้ เจ้าของฟาร์มสามารถลดฝูงแม่พันธุ์ลง แต่ให้ผลผลิตหรือจำนวนลูกหย่านมที่เท่าเดิมได้
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 เราได้ปรับปรุงเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์ เพื่อรวมคุณลักษณะใหม่สำหรับการอยู่รอดของลูกสุกร ทำให้ LP5 ถูกแบ่งออกเป็นสามส่วน โดยทาง Martin Molgaard Pedersen, หัวหน้าแผนกการปรับปรุงเพาะพันธุ์พันธุกรรมสภาการเกษตรและอาหารเดนมาร์ก อธิบายว่า :
“ ด้วย LP5 เป็นดัชนีทางพันธุกรรมที่กำหนดว่าความก้าวหน้าของการพัฒนาาสายพันธุ์ควรจะมีกระบวนการคัดเลือกสายพันธุ์จากขนาดครอกหรือจากอัตราการอดชีวิตที่เพิ่มขึ้น โดยการแบ่ง LP5 ออกเป็น 3 ดัชนีย่อย เราสามารถควบคุมการพัฒนาสายพันธุ์ได้ดีขึ้น”
การพัฒนาอัตราการรอดของลูกสุกรสำเร็จแล้ว
ดัชนีย่อยสำหรับอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรในสายพันธุ์ดูร็อคของ DanBred ได้มีการพัฒนาขึ้นอีกประมาณ 2% แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางพันธุกรรมของสุกรของ DanBred
ซึ่งหมายความว่าสุกรสายพันธุ์ DanBred Duroc ทั้งที่อยู่ในฝูงและสถานีทดสอบพันธุ์ของเดนมาร์กในตอนนี้ มีอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรมากกว่า 2% มากกว่าสุกรที่อยู่ช่วงต้นปี 2565 ผลสำเร็จเหล่านี้ได้รับการลงทะเบียนในเดนมาร์ก แต่เราคาดว่าจะเห็นการปรับปรุงที่โดดเด่นเช่นเดียวกันทั่วโลก
สุกรพันธุ์ดูร็อคมีส่วนช่วยเพียงครึ่งหนึ่งที่จำเป็นต่อการผลิตสุกรขุน แต่ส่วนช่วยในอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรก็ต้องพึ่งพันธุธรรมผ่านแม่สุกรพันธุ์ LANDRACE และ YORKSHIRE ด้วยเช่นกัน ถึงแม้ว่าการพัฒนาพันธุกรรมในแม่สุกรจะมีความคืบหน้าช้ากว่า แต่ Tage Ostersen ได้กล่าวว่า “มันค่อนข้างน่าแปลกใจมาก ที่เราสามารถเห็นความคืบหน้าในการพัฒนาสายพันธุ์ได้เร็วมากๆ แม้จะเริ่มเพียงแค่ในดูร็อค เราจึงหวังว่าจะเห็นการพัฒนาอีกครึ่งหนึ่งภายในปีแรกนี้”
น้ำเชื้อคุณภาพสูง (Super Sperm)
เป็นเวลาหลายปีที่สายพันธุ์ดูร็อคเป็นปัจจัยสำคัญต่อลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ ที่ล้วนเป็นเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ของ Danbred ตั้งแต่ช่วงตุลาคม 2558 ที่เริ่มพัฒนาในด้านขนาดขนาดครอก
Tage Ostersen กล่าวว่า “เมื่อเราเปลี่ยนเป้าหมายของการพัฒนาสายพันธุ์ของดูร็อค มันมีผลทันทีในด้านประสิทธิภาพ เราคาดหวังว่าสิ่งนี้จะเป็นกรณีเดียวกันกับการพัฒนาด้านอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกร” และยังได้เพิ่มเติมว่า “เราคาดว่าอัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรจะเพิ่มขึ้น 1% ต่อปีในอีกหลายปีข้างหน้า ยกตัวอย่างเช่น ในปี 2565 ถ้าฝูงมีมีอัตราการตายของลูกสุกรทั้งหมดอยู่ที่ 22% ราคาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะลดลงเหลือ 21% ในปี 2023”
อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรกลายเป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายในการพัฒนาสายพันธุ์ของ Danbred ตั้งแต่ปี 2565 เพื่อให้ลูกสุกรแข็งแรงขึ้น สิ่งนี้จะนำไปสู่ความคุ้มค่าในการผลิตสุกร ตอบโจทย์ให้กับผู้เลี้ยงสุกรได้อย่าดีเยี่ยม