เทคนิคการจับสัด–ผสมเทียมที่ดี – เพิ่มผลผลิตให้แก่ฟาร์ม
– จะทำอย่างไรให้การจัดการจับสัดให้ประสบความสำเร็จ??
– แดนบรีดพบว่าวิธีการจับสัดที่มีประสิทธิภาพ จะทำให้แม่พันธุ์ให้ผลผลิตดียิ่งขึ้น
– ทีมวิชาการแอมโก้เวท มีเคล็ดไม่ลับมาแชร์ให้ทุกคน เพื่อเพิ่มผลผลิตของฟาร์ม
ประเด็นสำคัญ
- เวลาที่ควรเริ่มเช็คสัดแม่หมู
- “พ่อเช็คสัด” หนึ่งปัจจัยที่ไม่ควรมองข้าม
- แม่หมูยืนนิ่ง จุดสำคัญของการจับสัดที่แม่นยำ
- อาการที่บ่งบอกการเป็นสัด
- เทคนิคกระตุ้นการเป็นสัด 5 ขั้นตอนตามแบบฉบับแอมโก้ฟาร์ม
- การวางแผนผสมเทียม
- “บอร์เบทเทอร์” ตัวช่วยในการเช็คสัด
1. เราควรเริ่มเช็คสัดตอนไหน ?? เพื่อหาแม่หมูที่พร้อมสำหรับการผสม
– แม่หมูหลังหย่านม ควรทำการเช็คสัดอย่างน้อย 1 ครั้ง/วัน ตั้งแต่ 3 วันหลังหย่านมจนถึงเริ่มผสมเทียม
– แม่ตกค้าง เช่นแม่นม แม่ที่มีปัญหา ควรมีการเช็คสัด อย่างน้อยวันละครั้ง ตั้งแต่วันแรกจนถึงถึงเริ่มผสมเทียม
2. พ่อเช็คสัด
– พ่อหมูเดินเช็คสัด หากมีควรสลับใช้เพื่อให้มีกลิ่นฟีโรโมนที่แตกต่างกัน
– อัตราส่วนจำนวน แม่หมู: พ่อกระตุ้นสัด : คือ 1:250 ตัว
– พ่อกระตุ้นสัด 1 ตัว ยืนหน้าแม่หมู 5-6 ตัว
– ควรมีการจมูกชนจมูกของพ่อและแม่หมู
– เปลี่ยนชุดพ่อเช็คสัดทุก 6-18 เดือน
แม่หมูยืนนิ่ง จุดสำคัญ ของการจับสัดที่แม่นยำ
– จุดสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการผสมเทียมสุกร คือ วิธีการจับสัดที่ถูกต้องและวิธีการผสมเทียมที่ถูกเวลา
– โดยปกติแล้ว แม่หมูสุขภาพดี จะเป็นสัดทุก 18-23 วัน หรือ 4-5 วันหลังหย่านม
– แม่หมูจะมีการตกไข่ ณ ช่วงเวลา 2/3 ของการยืนนิ่ง ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการผสมคือ ก่อนตกไข่ 24 ชั่วโมง จนถึง 4 ชั่วโมงหลังตกไข่
– การกระตุ้นการเป็นสัดในแม่หมู ทำให้ฮอร์โมน oxytocin หลั่งมากขึ้น
ซึ่งตัวฮอร์โมนนี้ ทำให้กล้ามเนื้อมดลูกเกิดการหดตัว ส่งผลต่อการยืนนิ่งของแม่หมู
– การใช้พ่อหมูเช็คสัดที่มีสุขภาพแข็งแรง และมีความกำหนัดสูง จะยิ่งทำให้พ่อหมูปลดปล่อยฟีโรโมน กระตุ้นการเป็นสัดของแม่หมูได้ดียิ่งขึ้น
อาการที่บ่งบอกการเป็นสัด เพื่อการจับสัดที่ถูกต้อง
– ยืนนิ่ง ตอบสนองต่อน้ำหนักกดทับ
– หูตั้ง
– ส่งเสียงครางซ้ำๆ
– ยืนนิ่งขาเกร็ง
– จิ๋มบวม มีเมือก
เทคนิคกระตุ้นการเป็นสัด 5 ขั้นตอน
การกระตุ้น 5 ขั้นตอน คือ การเลียนแบบการกระตุ้นของพ่อหมู โดยนำไปใช้ใน 3 จุดสำคัญ ได้แก่ การกระตุ้นการเป็นสัด การตรวจสัด และ
การผสมเทียม ซึ่งทำให้แม่หมูยืนนิ่งนานขึ้นขณะผสม มดลูกบีบตัวได้ดีขณะเดินน้ำเชื้อ ส่งผลให้อัตราการผสมติดดีขึ้นและจำนวนตัวอ่อนที่ผสมติดเพิ่มขึ้นทำให้ลูกสุกรดกขึ้น โดยมีขั้นตอนดังนี้
ผลดีของการใช้วิธีการกระตุ้น 5 ขั้นตอน คือ ช่วยให้แม่หมูยืนนิ่งนานขึ้นขณะผสม มดลูกบีบตัวได้ขณะเดินน้ำเชื้อ ส่งผลดีต่อ อัตราการผสมติดที่ดีมากขึ้น จำนวนตัวอ่อนที่ผสมติดเพิ่มขึ้น ลูกดกขึ้น
– การวางแผนผสมเทียม
ในปัจจุบัน สถานการณ์ของการเลี้ยงสุกรมีความเปลี่ยนแปลงไป
เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรค ASF ทำให้บางฟาร์ม พ่อหมูเป็นแหล่งระบาดของโรคภายในฟาร์ม หลายฟาร์มเลือกที่จะไม่มีพ่อหมูจนเกิดการขาดแคลนพ่อหมูเกิดขึ้นในฟาร์ม และการใช้พ่อเช็คสัดยังเป็นจุดเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคในฟาร์ม การใช้ฟีโรโมนเพื่อทดแทนการใช้พ่อหมูจึงเป็นทางออกที่สำคัญ
บอร์เบทเทอร์
ผลิตภัณฑ์หนึ่งเดียว ที่มีฟีโรโมนที่สำคัญในน้ำลายของพ่อหมูถึง 3 ชนิด
– ช่วยกระตุ้นให้แม่หมูแสดงอาการเป็นสัดชัดเจน
– ปลอดภัย ใช้สะดวก
– เพียงสเปรย์โดยตรงที่จมูกของแม่หมู ห่างประมาณ 15-20 เซนติเมตร