การให้อาหารแม่สุกรแบบใหม่ที่ถูกวิธีสามารถช่วยเพิ่มลูกมีชีวิตมากขึ้น 1.7% หรือ 0.4 ตัวต่อครอก
การให้อาหารแม่สุกรอุ้มท้องจนถึงหลังคลอดอย่างถูกวิธี ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผลผลิตของฟาร์มสุกรในปัจจุบัน โดยแม่สุกรควรได้รับพลังงานที่เพียงพอสำหรับกระบวนการคลอดและการฟื้นตัวของแม่สุกรหลังคลอดด้วย
ซึ่งจากการทดลองล่าสุดจากสถาบัน Aarhus University และ SEGES innovation พบว่าการให้อาหารแม่สุกร ประมาณ 3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวันในช่วงย้ายแม่สุกรขึ้นคลอด (อย่างน้อย 3 วันก่อนคลอด) จนถึงคลอด สามารถเพิ่มลูกมีชีวิตได้มากขึ้น 1.7%
ยิ่งกินอาหารได้มากขึ้น ยิ่งทำให้ระยะเวลาการคลอดสั้นลง
จากการศึกษาที่ผ่านมา จากสถาบัน Aarhus University และSEGES innovation ที่พบว่าไฟเบอร์จากบีทพัลป์ ในอาหารนั้นสำคัญสำหรับแม่สุกรโดยเฉพาะในกระบวนการคลอด
วิธีการให้อาหารแบบใหม่ไม่เพียงแต่จะทำให้อัตราการรอดชีวิตของลูกสุกรมีมากขึ้น แต่ยังลดการช่วยคลอดหรือล้วงคลอด อีกทั้งช่วยฟื้นตัวหลังคลอดได้ดียิ่งขึ้น
Camilla Kaae Højgaard หัวหน้าที่ปรึกษา SEGES Innovation. กล่าวว่า
“ ณ ตอนนี้พวกเราแนะนำว่าควรให้อาหารแม่สุกร ประมาณ 3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวัน นับตั้งแต่วันที่ย้ายแม่สุกรเข้าเล้าคลอดจนถึงคลอด โดยมั่นใจได้ว่าแม่สุกรจะได้รับพลังงานเพียงพอและไม่มีผลเสียต่อกระบวนการคลอด”
Management is essential
การจัดการเป็นสิ่งสำคัญ
หากต้องการเปลี่ยนลูกตายแรกคลอดให้เป็นลูกมีชีวิต จะต้องให้ความสำคัญเรื่องการจัดการอื่นๆร่วมด้วย เพราะการให้อาหารแบบใหม่อาจจะยังไม่เพียงพอ
“วิธีการให้อาหารแม่สุกรแบบใหม่จะทำให้ได้ลูกมีชีวิตมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ฟาร์มที่มีการจัดการลูกแรกคลอดที่ดีได้ลูกหมูหย่านมต่อครอกมากยิ่งขึ้น” Camilla Kaae Højgaard กล่าว
วิธีการให้อาหารที่เหมาะสมที่ควบคู่ไปกับการจัดการที่ดีในช่วงเลี้ยงลูก จะช่วยให้ลูกมีชีวิตที่ได้ มีโอกาสหย่านมได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสามารถหาเคล็ดลับการจัดการเพิ่มเติมได้จากคู่มือการจัดการของ Danbred ได้ในบทความต่อไป
หลักการให้อาหารแบบใหม่ จาก SEGES’s เพื่อให้ได้ลูกมีชีวิตเพิ่มขึ้น
- ไม่ลดปริมาณอาหารแม่สุกรก่อนคลอด
- ให้อาหารแม่สุกรประมาณ3.3 – 3.8 กิโลกรัมต่อวัน นับตั้งแต่ที่ย้ายแม่สุกรเข้าเล้าคลอดจนถึงวันคลอด
- บีทพัลป์และไฟเบอร์ ( บีทพัลป์และเปลือกข้าวโอ๊ต ) ช่วยลดการล้วงคลอด
** หมายเหตุ อาหารที่ใช้ในการศึกษานั้นอาจจะมีความแตกต่างกัน เช่น แหล่งของไฟเบอร์ โปรตีน และกรดอะมิโน(ไลซีน)