ทำอย่างไรดี แม่หมูหย่านมไม่ยอมเป็นสัด

    แม่หมูหลังหย่านมไม่เป็นสัด หรือ แม่หมูตกด้าง เป็นปัญหาคลาสสิกที่พบได้เกือบทุกฟาร์ม โดย 80% ของปัญหาเกิดจากความผิดพลาดในการจัดการ ผลที่ตามมา นอกจากจะเสียโอกาสในการผสมแม่หมู ยังสิ้นเปลืองค่าอาหารที่ต้องดูแลแม่หมูที่ไมให้ผลผลิตไปอีกอย่างน้อย 1-2 รอบ (21-42 วัน) หากลองคิดคิดตันทุนเฉพาะในส่วนของค่อาหารสำหรับแม่หมูกลุ่มนี้ โดยยังไม่ร่วมค่าใช้จ่ายอื่นๆ) เราอาจต้องเสียเงินไปเปล่าๆประมาณ 945 – 1,890 บาพ/แม่/1-2 รอบ (ค่าอาหารประมาณ 45 บาท/แม่/วัน) เป็นจำนวนเงินที่ไม่น้อยเลย แล้วในฟาร์มของเรามีแม่หมูตกด้างอยู่ทั้งหมดกี่แม่? ตกค้างมาแล้วกี่วัน? จะเห็นได้ว่าแม่หมูกลุ่มนี้เป็นกลุ่มของแม่หมูที่เป็นภาระตันทุนของฟาร์มอย่งแท้จริง หากจะทำการคัดทิ้งแม่หมูตกด้างไปเลย เกษตรกรหลายท่าน ก็ยังคงนึกเสียดายเนื่องจากส่วนใหญ่มักเกิดปัญหานี้กับแม่หมูที่ยังใช้งานได้เพียงไม่กี่ท้อง ดังนั้น การป้องกันการเกิดปัญหานี้ในระยาวจึงมีความสำคัญมาก สิ่งแรกที่เราควรต้องรู้ก่อนทำการแก้ปัญหาหรือป้องกันคือ มีสาเหตุใดบ้างที่ทำให้แม่หมูหลังหย่านมแล้วไม่แสดงอาการสัด และในฟาร์มของเรามีอะไรเป็น สาเหตุที่แท้จริง เพื่อจะได้เลือกใช้วิธีในการแก้ไข และป้องกันที่ถูกต้อง และได้ผลแบบยั่งยืน

 

สาเหตุที่แม่หมูหย่านมแล้วไม่เป็นสัด เกิดจากอะไรได้บ้าง?

  1. ความเครียด ปัจจัยต่งๆที่ทำให้เกิดความเครียดของแม่หมู เช่น การทำวัคซีนหรือแพ้วัดชีนในช่วงเลี้ยงลูก อากาศที่ร้อนอบอ้าว คอกเปียกและชื้นแฉะ ล้วนส่งผลต่อสุขภาพ ระดับภูมิคุ้มกันและการกินอาหารของแม่หมูทำให้การกินอาหารลดลง ไม่ได้ตามความต้องการของร่างกายและเป้าที่วางไว้
  2. สุขภาพและคะแนนหุ่นของแม่หมูหลังหย่านม หลายต่อหลายฟาร์มพบว่าแม่หมูหย่าลงลงมาด้วย สภาพร่างกายที่ผอมหรือโทรมมาก(ดังรูปที่ 1) ซึ่งทำให้แม่หมูฟื้นตัวได้ช้ ความสมบูรณ์พันธุ์ลดลง ปัจจัยหลักๆ ที่ทำให้แม่หมูผอมโทรมมาจากการให้อาหารในเล้าคลอดผิดพลาดหรือปริมาณอาหารที่แม่หมู่ได้รับไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และไม่เพียงพอต่อการผลิตน้ำนมเพื่อเลี้ยงลูก ทำให้เกิดการสลาย

    รูปที่ 1 แสดงแม่หมูหลังหย่านมผอมโทรม

    ไขมันสะสมของร่างกายออกมาใช้ แม่หมูกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะเสียน้ำหนักตัวหลังหย่านมอยู่แล้ว จึงทำให้สภาพร่างกายโทรม และไม่แสดงอาการเป็นสัดหรือเป็นสัดช้าตามมา ในทางกลับกัน แม่หมูที่อ้วนมาก เช่น มีระดับคะแนนหุ่นมากกว่า 3.5 ในขณะคลอด ก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นแม่หมูตกค้างหลังหย่านมได้มาก เช่นกัน การควบคุมคะแนนหุ่นของแม่หมูขึ้นคลอดในฟาร์มจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก

  3. ระยะเวลาในการเลี้ยงลูกไม่เหมาะสม ระยะเวลาเลี้ยงลูกของแม่หมูก็มีความสำคัญและส่งผลต่อจำนวนวันหลังหย่านมได้เช่นกัน โดยจากการศึกษาของ Steverink และคณะ ในปี 1999 พบว่า แม่หมูที่มีระยะเลี้ยงลูกที่น้อยกว่า 16 วัน จะยึดระยะหย่านมถึงเป็นสัดนานออกไป เนื่องจากมดลูกยังไม่พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อน (มดลูกยังไม่เข้าอู่) และระยะเลี้ยงลูกที่มากกว่า 32 วันขึ้นไป มีแนวโน้มว่า แม่หมูจะแสดงอาการเป็นสัดในเล้าคลอด ทำให้ภายหลังหย่านมอาจแสดงอาการเป็นสัดล่าช้ หรือไม่แสดงอาการเป็นสัดที่ชัดเจน โดยแม่หมูที่แสดงอาการเป็นสัดได้ดีที่สุดเป็นกลุ่มที่มีระยะเวลาเลี้ยงลูกประมาณ 28-31 วัน รองลงมาเป็นกลุ่มที่มีระยะเวลาเลี้ยงลูก 24-17 วัน แสดงดังกราฟที่ 1


    กราฟที่ 1 แสดงระยะเลี้ยงลูกและจำนวนวันหย่านมถึงเป็นสัด

  4. ความผิดพลาดในกระบวนการตรวจสัดหลังหย่านม ปัจจัยนี้เป็นปัญหามากในหลายๆฟาร์ม เกิดได้ทั้งจากตัวผู้ปฏิบัติงานและตัวหมูเอง เช่น ไม่มีการใช้พ่อพันธุ์เข้ากระตุ้นการเป็นสัดในแม่หมูหย่านม กระบวนการตรวจสัดที่ไม่แม่นยำ แสงสว่างในเล้าไม่เพียงพอ หรือ พ่อพันธุ์ที่ใช้ตรวจสัดไม่คึก มีผลทำให้พบแม่หมูที่
    แสดงอาการเป็นสัดที่ลดลง
  5. คอร์ปัสลูเทียม (Corpus luteum) ตกค้าง การตกค้างของคอร์ปัสลูเทียมในหมูเกิดขึ้นได้แต่ไม่บ่อยนัก มักเกิดในแม่หมูที่มีประวัติคลอดยากหรือ รกค้าง โดยคอร์ปัสลูเทียมจะทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการตั้งท้องของแม่หมู โดยปกติจะถูกสลายไปโดยฮอร์โมนพรอสต้าแกรนดิน (Prostaglandin) หลั่งมากขึ้นในช่วงใกล้คลอดและทำให้เกิดกระบวนการคลอด ดังนั้น หากยังมีคอร์ปัสลูเทียมตกค้างอยู่ แม่หมูจะไม่แสดงอาการเป็นสัดเนื่องจากคิดว่าตัวเองยังตั้งท้องอยู่

 

แนวทางการแก้ไขเบื้องต้น

  1. ทำให้แม่หมูเกิดความเครียด การทำให้แม่ตกค้าวเครียดเป็นวิธีการแรกๆที่เกษตรกรเลือกทำ สามารถทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น การไล่แม่หมูที่ไม่แสดงอาการเป็นสัดมาไว้ในคอกพ่อหมู หรือ นำพ่อหมูไปไว้ยังดอกแม่หมู หรือ นำแม่หมูขึ้นรถละขับไปรอบๆ ฟาร์ม (ที่เรียกกันว่าการแห่หมู) เป็นตัน
  2. ใช้พ่อหมูเดินตรวจสัด เพ้นการตรวจสัดให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นโดยการใช้พ่อพันธุ์ช่วยในการตรวจ 2 รอบ/ครั้ง โดยใช้พ่อหมู 2 ตัว/รอบ (ดินตัวละรอบ)
  3. เพิ่มความละเอียดในการตรวจสัดให้มากขึ้น โดยสังเกตทั้งอาการแม่หมู และใช้การกระตุ้น 5 ขั้นตอน ขณะตรวจสัดร่วมกับใช้พ่อพันธุ์เดินตรวจสัด(เน้นให้จมูกชนจมูก)
  4. รักษาด้วยฮอร์โมนพรอสต้แกรนดิน (Prostaglandin) 1 เข็ม วิธีนี้จะใช้ได้กับการรักษาในกรณีที่เกิดการตกค้างของคอร์ปัสลูเทียมเท่านั้น เพื่อไปสลายคอร์ปัสลูเทียมค้างอยู่ แม่หมูจะแสดงอาการเป็นสัดภายหลังการฉีด 3-5 วัน
  5. พิจารณาคัดทิ้ง หากแม่หมูไม่เป็นแสดงอาการเป็นสัดนานกว่า 2 รอบควร ทำการคัดทิ้ง เนื่องจากสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการดูแล โดยไม่ได้ผลผลิตใดๆเลย ถึงแม้ว่าแม่หมูจะแสดงอาการเป็นสัดในรอบถัดไปก็มีแนวโน้มว่าจะให้ลูกไม่ดกด้วย

 

แนวทางป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานี้ในอนาคต

  1. ลดแม่หมูโทรมหลังหย่านม โดยส่วนใหญ่แม่หมูโทรมจะมีสาเหตุจาก
    • การให้อาหารที่ไม่เพียงพอ จากที่กล่าวในช่วงตัน แม่หมูเลี้ยงลูกมีความต้องการสารอาหารที่มากกว่าหมูระยะอื่นๆ เนื่องจากต้องนำพลังงานที่กินไปใช้ในสร้างน้ำนมสำหรับเลี้ยงลูกหมู ดังนั้น หลังคลอดเสร็จ กระตุ้นให้แม่หมูให้กินอาหารอย่างเต็มที่ ภายใน 7 วันหลังคลอด ควรกินได้อย่างน้อย 5 -6 กิโลกรัม/ตัว/วัน ยิ่งแม่หมูกินอาหารได้มาก น้ำนมแม่หมูจะยิ่งดี (ดังรูปที่ 2) แม่หมูที่เสียน้ำหนักตัวน้อยหลังหย่านมจะแสดงอาการเป็นสัดได้ดีคว่แม่หมูที่เสียน้ำหนักตัวมากกว่า

      รูปที่ 2 แสดงผลจากการให้อาหารแม่หมูหลังคลอดได้ดี แม่หมูนมดีมาก

    • แม่หมูที่ให้ลูกดก แม่หมูที่ให้ลูกแรกเกิดมีชีวิตมากและต้องเลี้ยงลูกมากกว่า 14 ตัว/แม่ขึ้นไป (ดังรูปที่ 3) มีแนวโน้มว่าจะเสียน้ำหนักตัวหลังหย่านมมากกว่าแม่หมูที่เลี้ยงลูกน้อยกว่า ในฟาร์มที่มีลูกแรกคลอดจำนวนมาก จึงควรมีการจัดการอื่นๆ ร่วมด้วยเพื่อลดภาระการเลี้ยงลูกของแม่หมูชน การย้ายฝากลูกหมูไปไว้กับแม่ตัวอื่นช่วยเลี้ยง หรือเสริมนมละลายน้ำให้กับลูกหมู (ดังรูปที่ 4) เป็นต้น
รูปที่ 3 ลูกดก
รูปที่ 4 การเสริมนมละลาย

 

  1. ปรับระยะเลี้ยงลูกในเล้าคลอดให้เหมาะสม โดยทั่วไประยะเลี้ยงลูกใช้เวลา 25-27 วัน หลังหย่านม แม่หมูจะแสดงอาการเป็นสัดภายใน 5-7 วัน
  2. การดูแลแม่หมูหลังหย่านม ช่วงหลังหย่านมดวรเพิ่มอาหารให้กับแม่หมูได้กินเต็มที่ อย่างน้อย 4-4.5 กิโลกรัมตัว/วัน (ดังรูปที่ 5) เพื่อเร่งการฟื้นตัวหลังหย่นม ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์พันธุ์และกระตุ้นการตกไข่เพิ่มขึ้น แม่หมูแสดงอาการเป็นสัดชัดเจนและยืนนิ่งขณะผสมได้ดี

    รูปที่ 5 การเพิ่มอาหารให้กับแม่หมูหย่านม

  3. เพิ่มความละเอียดการตรวจสัดแม่หมู เกษตรต้องหันมาให้ความสำคัญกับการตรวจสัดหลังหย่านมให้มีประสิทธิภาพสูงสุด (ดังรูปที่ 6) โดยการสังเกตอาการของแม่หมู เช่น อวัยวะเพศบวมแดง มีเมือกใส ยืนนิ่งและให้ความสนใจกับพ่อพันธุ์เมื่อเดินผ่านขณะตรวจสัด ทำการตรวจสัดวันละ 2 ครั้ง (ช่วงเช้าและเย็น) ทุกวัน ร่วมกับใช้การกระตุ้น 5 ขั้นตอน (ดังรูปที่ 7) ขณะตรวจสัด จะช่วยให้แม่หมูแสดงอาการเป็นสัดและยื่นนิ่งชัดเจนยิ่งขึ้น

    รูปที่ 6 แสดงการตรวจสัดแม่หมู

    รูปที่ 7 แสดงการกระตุ้น 5 ขั้นตอน ขณะตรวจสัดและก่อนผสมเทียม

  4. คุณภาพของพ่อพันธุ์ พ่อพันธุ์ที่ใช้ในการตรวจสัด ควรมีอายุ 1 ปีขึ้นไป และไม่ควรเป็นพ่อแก่ (อายุ 4 ปีขึ้นไป) หลายฟาร์มพลาดในจุดนี้ เนื่องจากมักใช้พ่อพันธุ์ปลดจากการรีดน้ำเชื้อมาใช้ในการตรวจสัด พอพันธุ์ตรวจสัดจะต้องความกำหนัดสูง และมีโปรแกมการรีดน้ำเชื้ออย่างสม่ำเสมอ (ทุกสัปดาห์) เพื่อเพิ่มความกำหนัดและยืดอายุการใช้งาน พ่อพันธุ์ที่ดีจะช่วยกระตุ้นการเป็นสัดในแม่หมู่ได้ดียิ่งขึ้น
  5. ให้ความสำคัญกับคะแนนหุ่น การให้อาหารและปรับหุ่นแม่หมอุ้มท้องมีความสำคัญต่อระบบการผลิตเป็นอย่างมาก แม่หมูจะต้องมีคะแนนหุ่นขึ้นคลอดพอดี (Body Condition Score; BCS = 3.0)(คังรูปที่ 8) แม่หมูที่มีคะแนนหุ่นเหมาะสม เมื่อขึ้นคลอดแม่หมูคลอดง่าย ไม่ต้องล้วงช่วยคลอด ลดการเกิดหนองหรือป่วยหลังคลอด (MMA) ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้แม่หมูป่วย นมแห้ง กินอาหารน้อย หรือไม่กินอาหารในเล้าคลอด ซึ่งจะส่งผลให้สูญเสียไขมันสะสมและโทรมภายหลังหย่านม

    รูปที่ 8 แสดงหุ่นแม่หมูที่พอดีขณะขึ้นคลอด (BCS = 3.0)

  6. จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรือนให้เหมาะสม
    • โรงเรือนอีแวป (EVAP) ต้องตรวจสอบการทำงานของระบบอีแวปเป็นประจำทุกวัน อุดรอยรั่วควบคุมอุณหภูมิและความชื้นให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม แม่หมูจะต้องอยู่สบาย
    • โรงเรือนเปิด ต้องตรวจสอบการจัดการผ้าม่านให้เหมาะสม และตรวจการทำงานของพัดลมเป็นประจำทุกวัน หากอากาศร้อนอบอ้าวควรอาบน้ำให้แม่หมูเป็นรายตัว การเปิดพัดลมระบายอากาศ จะทำให้แม่หมูเย็นสบาย ไม่หอบ กินอาหารได้ดียิ่งขึ้น

จะเห็นได้ว่า การแก้ญหาแม่หมูหย่านมไม่เป็นสัดไม่ได้ยากอยากที่คิด แต่ต้องอาศัยความเข้าใจของผู้ปฏิบัติงานให้มากขึ้น เช่น ปรับหุ่นแม่หมอุ้มท้องให้พอดีก่อนขึ้นคลอด กระตุ้นแม่หมูหลังคลอดให้กินอาหารอย่างเต็มที่ เพิ่มการดูแลแม่หมูหลังหย่านมและตรวจสัตอย่างละเอียดมากขึ้น ซึ่งวิธีการต่งๆ เหล่านี้ไม่ได้เป็นวิธีการที่แปลกใหม่ แต่หลายฟาร์มก็ยังพบปัญหาแม่หมูไม่เป็นสัดหลังหย่านมอยู่เรื่อยๆจนถือเป็นเรื่องปกติลองกลับมาดูว่าฟาร์มว่าผิดพลาดจุดไหนหรือไม่ ทำการปิดจุดบอดนั้นๆ ก็จะทำให้ได้แม่หมูกลับมาผสมเพิ่มขึ้น ลดแม่หมูกินเปล่าและช่วยประหยัดตันทุนของฟาร์มได้อีกด้วย

 

เราใช้คุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใข้เว็บไซต์ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้คุ้กกี้ได้ที่ นโยบายคุ้กกี้ และ สามารถเลือกตั้งค่ายินยอมการใช้คุ้กกี้ ได้โดยการคลิก การตั้งค่าคุกกี้

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับคุกกี้ทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็น (Necessary Cookies)
    เปิดใช้งานตลอด

    คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐานและช่วยให้การทำงานของเว็บไซต์ทำงานได้เป็นปกติ เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์เข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น โดยเว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้ ดังนั้น ท่านไม่สามารถปิดการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซต์ของบริษัทได้ ทั้งนี้คุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้มีการจัดเก็บข้อมูลซึ่งสามารถระบุตัวตนของท่านได้อย่างเฉพาะเจาะจงแต่อย่างใด

  • คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย (Targeting Cookies)

    คุกกี้ประเภทนี้อาจถูกติดตั้งโดยพันธมิตรทางการตลาดผ่านทางเว็บไซต์ของเรา โดยจะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่านว่า ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง บริษัทใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น บริษัทอาจเปิดเผยข้อมูลเหล่านี้แก่บุคคลที่สามเพื่อวัตถุประสงค์เหล่านี้ด้วย หากท่านไม่อนุญาตให้ใช้คุกกี้ประเภทนี้ ท่านจะได้รับการโฆษณาที่เฉพาะเจาะจงน้อยลง

บันทึก