สรุปสาระสำคัญงานสัมมนา
วันที่ 29/11/2564
โดย Dr. Zheng Zezhong ประเทศจีน
African swine fever
- ASF Genotype ที่ก่อโรคในจีนและทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คือ Genotype 2
- ตัวไวรัส ASF ประกอบไปด้วยโปรตีนหลายชนิด ซึ่ง 34% ของโปรตีน ยังคงไม่ทราบหน้าที่การทำงานที่แท้จริง ทำให้ปัจจุบัน การคิดค้นและผลิตวัคซีนยังอยู่ในช่วงของการทดลอง สำหรับประเทศจีน ยังไม่มีวัคซีนออกขายตามตลาด เพราะติดปัญหาเรื่องความปลอดภัยของวัคซีน
- ASF สามารถอยู่ในเนื้อแช่แข็งได้นานกว่า 1000 วัน
อาการ หมูที่ติดเชื้อ ASF ในประเทศจีน แบบเฉียบพลัน แสดงอาการใน 7-10 วัน โดยมักพบว่า สุกรไม่กินอาหาร กินลดลง ไม่ค่อยเคลื่อนไหว เมื่อเวลาผ่านไป และเริ่มมีผื่นแดง ใบหูม่วง
รอยโรค ต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ ม้ามมีขนาดใหญ่มาก สุกรบางตัวม้ามมีขนาดใหญ่ถึง 1 เมตร
คำถาม คำตอบ (Q & A)
1.แนวคิดในเรื่องการพัฒนาวัคซีน ASF ในอนาคต
- วัคซีนเชื้อตาย (inactivated vaccine) ถูกพิสูจน์แล้วว่าไม่ได้ผลในการป้องกันโรค ASF
- วัคซีนเชื้อเป็น (MLV) ในบางการศึกษาพบว่ามีประสิทธิภาพดีแต่เรื่องความปลอดภัยเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง
- วัคซีนที่ผลิตมาจากชิ้นส่วนของไวรัส (subunit vaccine) เป็นชนิดที่ดูมีความเป็นไปได้มากที่สุด
2.มีความคิดเห็นอย่างไรกับการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มาจากสกัดจากธรรมชาติในบรรเทาการระบาดของโรค ASF
- มีโอกาสเป็นไปได้ แต่ปัจจุบันยังไม่มีสารเสริมอาหารตัวใดที่ช่วยในการฆ่าเชื้อ ASF โดยตรง
3.ทำไมการใช้วัคซีนถึงทำให้สถานการณ์ของโรค ASF แย่ลง
- วัคซีนเชื้อตายทำให้เกิดปฏิกิริยา antibody
dependent enhancement ซึ่งไม่ดีต่อร่างกายสัตว์ - วัคซีนเชื้อเป็น (MLV) ไม่สามารถหยุดการแพร่เชื้อใน
ฝูงได้ และทำให้เกิดการแพร่เชื้อในฝูง
4. มีข้อแนะนำในการสร้างฝูงใหม่หลังการเกิดโรคระบาดในประเทศจีนอย่างไร
การสร้างฝูงใหม่ควรมีการวางแผนการทำงานก่อน เบื้องต้นควรมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อก่อนนำสุกรเข้าฝูง ควรฆ่าเชื้ออุปกรณ์ด้วยความร้อน
(>70 °C เป็นระยะเวลา 30 นาที)
5. การพัฒนาวัคซีน ASFV-G-ΔI177L มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะเป็นตัวช่วยในการควบคุมโรค อย่างไรก็ตามควรผ่านการศึกษาความปลอดภัยก่อนออกสู่ตลาด
6. ตัวอย่างที่นิยมใช้ส่งตรวจ ASF ในประเทศจีน ได้แก่ สวอปรางอาหาร, สวอปจมูกและน้ำลายจากสุกรที่มีชีวิต และ ตัวอย่างเลือดจากสุกรที่ป่วยและสุกรที่ตายแล้ว
7. ถ้าฟาร์มสามารถยืนยันได้ว่าปลอดเชื้อ ASF ภายหลังการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ ก็ไม่จำเป็นต้องพักโรงเรือน แต่โดยประสบการณ์แล้ว จะต้องใช้เวลาพักโรงเรือนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถ้าอากาศร้อนและแห้ง ไวรัสสามารถเสื่อมสลายได้ภายใน 7 วัน
8. สุกรตั้งท้องคือสุกรที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอที่สุด ทำให้มีความอ่อนแอต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ซึ่งความไวต่อการติดเชื้อ ASF บางส่วนขึ้นอยู่กับสถานะสุขภาพของฝูงสุกรเช่นกัน
Take home message
- ระบบป้องกันโรคทางชีวภาพคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในการป้องกันโรค
- การตรวจและคัดออกเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรค
- ควรระวังการใช้วัคซีนในการป้องกันโรค เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลเรื่องความปลอดภัย
- อย่าทดลองใช้ยาที่ไม่ทราบที่มาและประสิทธิภาพของยา
ระบบการป้องกันโรคทางชีวภาพ
- ยานพาหนะ
- สัตว์
- อาหารและน้ำ
- อุปกรณ์ในฟาร์ม
- คนงาน
- การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ
ระบบการป้องกันโรคทางชีวภาพ
1. ยานพาหนะ
อดีต: ยานพาหนะเป็นปัจจัยที่มีความเสี่ยงมากที่สุด ซึ่งในปี 2018-2019 สาเหตุของการระบาดในประเทศจีน มาจากยานพาหนะมากที่สุด โดยรถที่ใช้ขนสุกรติดเชื้อออกนอกฟาร์ม เป็นคันที่ใช้ขนสุกรจากหลายๆฟาร์ม รวมถึงการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถที่ไม่ดี ทำให้มีเชื้อปนเปื้อนและเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรค ASF
ปัจจุบัน: ฟาร์มสุกรแต่ละที่จะมีรถขนสุกรเป็นของตัวเอง มีการฆ่าเชื้อที่เหมาะสม มีสถานีการขนส่งหมูจากภายในสู่ภายนอกฟาร์ม โดยมีระยะห่างจากฟาร์ม 1-2 กม. มีการสกรีนรถที่จะเข้ามาในฟาร์ม รถภายนอกไม่สามารถเข้ามาในฟาร์มได้
2. สัตว์
- สุกรอื่นที่เข้ามาในฟาร์มมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นตัวนำโรค
ซึ่งระบบการผลิต ที่ฟาร์มผลิตแม่สุกรเอง หรือซื้อแม่สุกรเข้ามาที่ฟาร์มก็ส่งผลต่อความเสี่ยงในการนำเชื้อเข้าสู่ฟาร์ม
- ควรทำระบบ batch หรือ เลี้ยงสุกรแบบ เข้าหมดออกหมด
- การขายสุกร ต้องมีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อรถที่เข้ามาซื้อสุกร หรือทำเล้าขาย ฟาร์มที่ประเทศจีนจะมีอุโมงค์ที่เป็นทางออกระหว่างโรงเรือนออกมาสู่ภายนอกยาวกว่า 100 เมตร เพื่อขนสุกรออกจากฟาร์ม
- ไม่นำสุกรที่ออกจากฟาร์มแล้วกลับเข้ามาในฟาร์มอีก และหลังจากทำการขายสุกร ควรทำการทำความสะอาดฆ่าเชื้อ ทั้งคน ยานพาหนะและอุปกรณ์ทั้งหมด
3. อาหารและน้ำ
- อาหารสามารถเป็นหนึ่งในสาเหตุของการแพร่ระบาดโรค ASF ได้เช่นกันเหมือนกับโรค PED
- การผลิตอาหารสัตว์ ที่จีนจะนำอาหารไปผ่านความร้อนสูง
(> 85 °C นานกว่า 3 นาที) ในขั้นตอนสุดท้าย และเมื่ออาหารถึงฟาร์ม จะทำการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อ จากนั้นเก็บอาหารไว้ในโรงเก็บอาหารก่อน (> 3 วัน) ให้อาหารมีความแห้ง - แหล่งน้ำผิวดินมีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนมากที่สุด สำหรับฟาร์มที่ตั้งอยู่ในแหล่งการระบาดของโรค ASF จึงต้องมีระบบการกรองและการฆ่าเชื้อในน้ำ ที่มีคุณภาพสูง เช่น ระบบ
UV-C โดยพบว่า รังสี UV-C มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อในน้ำ
4. อุปกรณ์ต่างๆภายในฟาร์ม
- คนงานอาศัยอยู่ในฟาร์ม 100% แบ่งพื้นที่เป็นสัดส่วนชัดเจน
- งดการซื้อของจากตลาดสด และไม่นำเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากสุกรเข้ามาในฟาร์ม
- ของใช้ส่วนตัวของคนงาน จะมีมาตรการการฆ่าเชื้อ เช่น การใช้ความร้อน, การแช่อุปกรณ์ที่ซื้อจากภายนอกในน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือการนึ่งไอน้ำ (> 65 °C เป็นระยะเวลา30 นาที)
- วัคซีนและยา: มีการทำความสะอาดบรรจุภัณฑ์ภายนอก อบโอโซน หรือแช่บรรจุภัณฑ์ในน้ำยาฆ่าเชื้อก่อนนำเข้ามาใช้ในฟาร์ม
5. คนงาน
- หลีกเลี่ยงการออกไปฟาร์มอื่น, โรงฆ่าสัตว์ และ ตลาดสด
- บุคคลที่ออกจากฟาร์ม ต้องทำการพักโรคอย่างน้อย 1 คืน
- แผนฟังฟาร์มควรเป็นเส้นทางเดียว เพื่อบังคับให้ทุกคนต้องอาบน้ำก่อนเข้าสู่ภายในฟาร์ม
- คนงานจะต้องอาบน้ำและสระผมอย่างน้อย 5 นาที เพื่อทำให้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนตามร่างกายได้ นอกจากนี้ควรมีแปรงขัดมือและเล็บ เพื่อทำความสะอาดตามซอกเล็บอีกด้วย
- แบ่งเสื้อคนงานตามโซนการทำงาน เพื่อความสะดวกในการแยกกลุ่มคน และ วางแผนวิธีการป้องกันโรคตามพื้นที่ที่ต่างกัน
- การทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ
- น้ำยาฆ่าเชื้อมีหลายประเภท ควรเลือกใช้อย่างเหมาะสม และถูกต้องตามความเข้มข้นและระยะเวลาที่ผลิตภัณฑ์แนะนำ
- สิ่งสกปรกสามารถทำให้ประสิทธิภาพของน้ำยาฆ่าเชื้อบางชนิดเสื่อมสภาพ ควรทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด ก่อนใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
การตรวจวินิจฉัยและคัดออก (การถอนฟัน)
- เป็นวิธีการที่ใช้ในการควบคุมโรค ASF ในประเทศจีน
- สุกรที่ติดเชื้อเปรียบเสมือนฟันที่ไม่ดี ต้องทำการถอนฟันหรือ
คัดออกจากฝูง - โดยทำการตรวจหาสุกรที่มีผลบวก ASF ด้วยวิธีการ PCR แล้วคัดออกจากฝูงให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันการระบาดภายในฝูง
หลักการการตรวจและคัดออก
- ASF เป็นไวรัสที่มีความสามารถในการแพร่เชื้อ ต่ำ มีการระบาดของโรคในฝูงสุกรอย่างช้าๆ แต่เมื่อสุกรมีการติดเชื้อ จะมีอัตราการตายสูง
- ช่องทางการติดเชื้อ คือ การติดต่อโดยการสัมผัส เป็นหลัก
- ยังมีช่วงเวลาที่สามารถตรวจเจอสุกรมีผลบวก ก่อนที่สุกรจะแพร่เชื้อไวรัสออกสู่ร่างกาย
วิธีการปฏิบัติ
1.คนงานต้องมีการตรวจสุขภาพฝูงอยู่เป็นประจำ ทุกๆวัน
2.เมื่อพบเจอสุกรแสดงอาการผิดปกติ เช่น กินอาหารลดลง หรือ นอนเฉย หรือแยกตัวออกจากฝูง ให้ทำการตรวจหาเชื้อASF ด้วยการสวอปจมูกหรือน้ำลายทันที
3.การตรวจ PCR ต้องรู้ผลภายในวันนั้นๆ
4.เมื่อพบสุกรแสดงผลบวกต่อโรค ASF .ให้หยุดกิจกรรมภายในฟาร์มทันที แยกคนงาน วางแผนการเคลื่อนย้ายสุกรออก
5.ทำการการุณยฆาตสุกรและสุกรที่อยู่ข้างเคียงออกจากฝูงแล้วทำการฆ่าเชื้อพื้นที่ให้สะอาด
6.ตรวจซ้ำทั้งฝูง 2 – 3 ครั้ง หมั่นนำสุกรติดเชื้อและสุกรข้างเคียงออกจากฟาร์ม
สิ่งสำคัญ
1.ในประเทศจีน แต่ละฟาร์มมีเครื่อง qPCR อย่างน้อย 1 – 2 เครื่อง เพื่อใช้ตรวจโรคภายในฟาร์ม
2.ดูแลสุขภาพสัตว์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะดู้ถึงความผิดปกติอย่างทันท่วงที
3.มีทีมที่พร้อมทำงานและวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ