สถานการณ์ของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมานั้น เพิ่มสูงขึ้นมากและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์สูงขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ นม และไข่ ในราคา ที่สูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นต้นทุนของการเลี้ยงสัตว์กว่า 60-70%
ผู้ผลิตอาหารสัตว์ในประเทศไทยนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์จากต่างประเทศถึง 60% และใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศเพียง 40% การขึ้น-ลงของราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ขึ้นกับ 2 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1) ปัจจัยภายในประเทศ ขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการต่างๆ เช่น การจัดเก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ มาตรการควบคุมการนำเข้าข้าวสาลี และการจำกัดช่วงเวลาการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้าน 2) สถานการณ์ราคาวัตถุดิบในตลาดโลก รวมถึงค่าบริหารและค่าขนส่ง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถ ควบคุมได้ ได้แก่ ราคาน้ำมันดิบโลก การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ปรากฏการณ์เอลนินโญ่ และลานินญ่า ภัยแล้ง น้ำท่วม ทำให้ผลผลิตที่ได้มีปริมาณลดลง และราคาสูงขึ้น นอกจากนี้ค่าเงินบาทที่อ่อนตัว ทำให้การนำเข้าวัตถุดิบมีต้นทุนสูงขึ้น อีกทั้งการฟื้นตัวจากสถานการณ์ โรคระบาดโควิด-19 และ ASF ของประเทศจีน ซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกกลับมาซื้อวัตถุดิบ ทำให้วัตถุดิบขาดแคลน และมีราคาสูงขึ้น รวมถึงสถานการณ์สงครามที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ เนื่องจากประเทศรัสเซียเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์ รายใหญ่ของโลก โดยเฉพาะข้าวสาลีสำหรับอาหารสัตว์ (ประเทศรัสเซียส่งออกข้าวสาลีประมาณ 29% และข้าวโพดประมาณ 19% ของตลาดโลก) เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 ราคากากถั่วเหลืองชิคาโกปรับขึ้นสูงสุดในรอบ 9 ปี เนื่องจากปัญหาความแห้งแล้งในประเทศอาร์เจนตินา ซึ่งหลายสำนักคาดการณ์ว่าผลผลิตถั่วเหลืองจากประเทศอาร์เจนตินาจะลดลงเหลือ 37-38 ล้านตัน และ USDA คาดการณ์ว่าผลผลิตกากถั่วเหลืองในปี 2566 จะลดลง 5 ล้านตันจากปี 2565 และนอกจากวัตถุดิบอาหารสัตว์แล้ว ผลิตภัณฑ์กลุ่มสารเสริม กรดอะมิโน วิตามิน แร่ธาตุ และยาปฎิชีวนะ ก็มีการปรับราคาสูงขึ้นด้วย เนื่องจากมีความแปรผันไปตามราคาน้ำมันและค่าครองชีพที่สูงขึ้น
ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์หลายชนิดที่มีส่วนเชื่อมโยงกับการตัดไม้ทำลายป่า ดังนั้นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่ส่งออกไปสู่ประเทศในสหภาพยุโรป ต้องไม่ใช้วัตถุดิบที่ปลูกในพื้นที่ป่าถูกบุกรุกอีกด้วยปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อาหารสัตว์ทุกประเภทในปี 2566 ขยับตัวสูงขึ้นกว่าปี 2565 ประมาณ 10% ประกอบไปด้วยค่าบริหารจัดการ ค่าแรงงาน ค่าเชื้อเพลิง ในการผลิตอาหารสัตว์ปรับขึ้นอีก 15-20% ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตอาหารสัตว์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ทำให้ผู้เลี้ยงต้องปรับตัวโดยเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือกมาทดแทนเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ โดยที่คุณภาพของอาหารสัตว์ไม่เปลี่ยนแปลงแต่วัตถุดิบทดแทนบางชนิดอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ ดังนั้นการเลือกใช้วัตถุดิบทดแทน จึงต้องเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีเพื่อคงคุณภาพของอาหารสัตว์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
ปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คาดการณ์ว่าจะส่งผลให้อาหารสัตว์ทุกประเภทในปี 2566 ขยับตัวสูงขึ้นกว่าปี 2565 ประมาณ 10% ประกอบไปด้วยค่าบริหารจัดการ ค่าแรงงาน ค่าเชื้อเพลิง ในการผลิตอาหารสัตว์ปรับขึ้นอีก 15-20% ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ผลิตอาหารสัตว์ และเกษตรกร ผู้เลี้ยงสัตว์ ทำให้ผู้เลี้ยงต้องปรับตัวโดยเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือก มาทดแทนเพื่อช่วยลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ โดยที่คุณภาพของอาหารสัตว์ไม่เปลี่ยนแปลงแต่วัตถุดิบทดแทนบางชนิดอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์ ดังนั้นการเลือกใช้วัตถุดิบทดแทน จึงต้องเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดีเพื่อคงคุณภาพของอาหารสัตว์ให้มีประสิทธิภาพสูงที่สุด
บริษัท แอมโก้เวท จำกัด เป็นบริษัทผู้ผลิตและนำเข้าสุกรสายพันธุ์เดนมาร์ก และเป็นผู้นำด้านการพัฒนาสายพันธุ์สุกร จนทำให้สุกรเดนมาร์กเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเป็นอันดับหนึ่งของผู้เลี้ยงสุกรในประเทศไทย พร้อมทั้งมีทีมวิชาการที่คอยช่วยเหลือลูกค้าในด้านข้อมูลวิชาการและการจัดการฟาร์มในการช่วยดูผลผลิตภายในฟาร์มเพื่อให้มีผลกำไรมากขึ้น โดยทางคุณหมอเจี๊ยบ (นายสัตวแพทย์ เสริมศักดิ์ เจี๊ยบนา) ได้ตระหนักถึงต้นทุนในการเลี้ยงสุกรในปัจจุบันที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นต้นทุนค่าอาหาร ต้นทุนการจัดการในการป้องกันและรักษาโรค ต้นทุนแรงงาน ต้นทุนการเงิน ทางคุณหมอได้ทำการค้นคว้าวิจัยและทดลองสินค้าทางเลือกเพื่อลดต้นทุนในสูตรอาหารโดยไม่กระทบต่อประสิทธิภาพต่อการเจริญเติบโตของสุกร ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมาภายในฟาร์ม พบว่า นาทูโปร (Natupro®) เป็นผลิตภัณฑ์โปรตีนทางเลือกใหม่ ที่มีประสิทธิภาพย่อยง่าย ดูดซึมได้ดี ร่างกายสามารถใช้ประโยชน์จากกรดอะมิโนได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก หลักการทำงานของ Natupro คือการเติมเต็มช่องว่างที่สำคัญระหว่างกรดอะมิโนสังเคราะห์ที่ใส่ลงในสูตรอาหาร และกรดอะมิโนที่ผ่านการย่อยโปรตีนในร่างกายสัตว์ซึ่งมีระยะเวลาการย่อยและการดูดซึมที่แตกต่างกัน ดังรูป
การใส่นาทูโปร (Natupro®) เป็นเทคโนโลยีใหม่ ในการทำให้เกิดพันธะระหว่างน้ำตาลและกรดอะมิโนในรูปแบบ Semi-Maillard Reaction ทำงานโดยการปลดปล่อยกรดอะมิโนออกมาอย่างช้าๆ จากปฏิกิริยาภายใต้สภาวะที่เหมาะสมระหว่างการย่อยอาหารใน กระเพาะอาหารของสัตว์ ทำให้สามารถ เสริมระดับกรดอะมิโนที่จำเป็นให้มีปริมาณสูงเพื่อร่างกายสามารถ ดึงไปสร้างกล้ามเนื้อได้อยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในการทำสูตรอาหารที่เสริมนาทูโปร (Natupro®) เราสามารถลดปริมาณการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ประเภทแหล่งโปรตีน เช่น กากถั่วเหลือง ถั่วอบ ถั่วหมัก ปลาป่น รวมถึงกรดอะมิโนสังเคราะห์บางชนิดลงได้ ซึ่งช่วยให้ต้นทุนในการผลิตอาหารสัตว์ลดลง ผลิตภัณฑ์นาทูโปร ทำให้สัตว์สามารถรักษาระดับกรดอะมิโนในกระแสเลือดให้คงที่ เพียงพอและเหมาะสมต่อการนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต จึงส่งผลให้สัตว์มีประสิทธิภาพการผลิตและอัตราการแลกเนื้อที่ดีขึ้นอีกทั้งสามารถลดความเครียดของสัตว์ลงได้จากการลดปริมาณโปรตีนในอาหารลง ทำให้ของเสียที่เหลือจากการย่อยอาหารน้อยลง ซึ่งส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่งด้วย
จากผลการทดลองการใช้ (Natupro®) เปรียบเทียบกับการใช้แหล่งโปรตีนคุณภาพดี เช่น ถั่วเหลืองอบไขมันเต็ม (Full fatsoy; FFS) ในสูตรอาหารสุกรอนุบาล โปรตีน 18% โดยทดลองในสุกรอนุบาลอายุ 4-8 สัปดาห์ (ระยะเวลาการทดลอง 30 วัน)แบ่งการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ใช้นาทูโปร 1% กลุ่มที่ 2 ใช้นาทูโปร 2.5% และกลุ่มที่ 3 ใช้ถั่วเหลืองอบไขมันเต็ม (FFS) 5% พบว่ากลุ่มที่ใช้นาทูโปร 1% และ 2.5% มีอัตราการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อที่ดีกว่ากลุ่มที่ใช้ถั่วเหลืองอบไขมันเต็ม(FFS) 5% และการใช้นาทูโปร 2.5% นั้นให้ผลที่ดีกว่าการใช้นาทูโปร 1% ดังนั้นการใช้นาทูโปรสามารถใช้ทดแทนแหล่งโปรตีนคุณภาพดีในสูตรอาหารสุกร และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของสุกร เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรลดต้นทุนการผลิต ได้กำไรเพิ่มขึ้นและประกอบธุรกิจการเลี้ยงสุกรได้อย่างยั่งยืน